กรรมวิธีการสร้างกลองทัดของช่างสนั่น บัวคลี่

PROCESS OF MAKING KLONG THAD BY MASTER SANAN BUAKLEE

Authors

  • ปรเมษฐ์ เอียดนิมิตร
  • ขำคม พรประสิทธิ์

Keywords:

การสร้างกลองทัด, ช่างสนั่น บัวคลี่, Making Klong Thad, Mr. Sanan Buaklee

Abstract

งานบทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องและกรรมวิธีการสร้างกลองทัดใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่าเครื่องหนังไทยมีที่มาตั้งแต่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย พบตั้งแต่พุทธศักราช 310 - 343 และมีวิวัฒนาการล่าสุดในสมัยรัชกาลที่ 1 กลองทัดเป็นเครื่องกำกับจังหวะที่บรรเลงคู่กับตะโพนไทย ปรากฏบทบาทอยู่ในการประกอบพิธีกรรม การแสดงโขนละคร และการให้สัญลักษณ์บอกเวลาแก่พระสงฆ์ ช่างสนั่น บัวคลี่ เป็นช่างผู้มีความสามารถในการสร้างเครื่องหนังไทย อาศัยอยู่จังหวัดอ่างทอง ศึกษาจากการสั่งสมประสบการณ์จนสามารถสร้างเครื่องหนังได้ดี ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ โดยกรรมวิธีการสร้างที่ส่งผลให้ลักษณะทางกายภาพมีหุ่นกลองที่สวยงามได้ลักษณะหุ่นที่เรียกว่าทรงมะนาวตัด คือขั้นตอนการกลึงหุ่น และกรรมวิธีการสร้างที่ส่งผลให้คุณภาพเสียงกลองทัดทุ้มต่ำ ดังกังวาน มีความกลมกลืนใกล้เคียงเสียงในอุดมคติของนักดนตรีเครื่องหนังคือขั้นตอนการทำปากนกแก้ว ขั้นตอนการไสหนังเพื่อแต่งหนัง และขั้นตอนการนวดหนัง  This research aims to study the process of making klong thad by employing qualitative research methods. The research findings show that Thai drums dated back to 310-334 B.C and the latest development of Thai drum is found in the reign of King Rama I. Klong thad is a rhythmic instrument. It appears in a context of ritual performance and masked dance. It also serves as time signals to monks. Master Sanan Buaklee is a well-known drum maker in Ang Thong province. He gained experiences from practicing until reaching the success. His drum body is known as manaw tad. The process begins with making a body that results into a key factor contributed to a mellow sound and harmonious. This sound quality is preferred by musicians and it is close to idealistic sound of klong thad. Three main steps that are important to make an impact on sound qualities are as follows: (1) inner frame; (2) planning the hide and; (3) to rub the hide.

References

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. 2530. สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เอเฮ้าส์.

ฑีฆายุ รุ่งเรือง. ครูเครื่องหนังไทย. (26 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์

ประสิทธิ์ ถาวร. 2532. ที่ระลึกในโอกาสแสดงมุทิตาจิตของ ศิษย์อาจารย์ประสิทธิ์ ถาวร. กรุงเทพมหานคร: รักษ์สิปป์.

ภัทระ คมขำ. รองศาสตราจารย์. (30 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์

รังสรรค์ บัวทอง. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. (31 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์

วงศ์วสันต์ วสันตสุรีย์. ผู้ช่วยศาสตราจารย์. (31 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์

สนั่น บัวคลี่. ช่างกลอง. (16 กุมภาพันธ์ 2563). สัมภาษณ์

สุภร อิ่มวงค์. ครูดนตรีไทย. (29 กรกฎาคม2563). สัมภาษณ์

อนันต์ ดุริยพันธ์. ร้อยตำรวจตรี. (26 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์

อนุชา บริพันธ์. ครูเครื่องหนังไทย. (29 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์

อภิธาน สมานมิตร. ครูโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม. (24 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์

Downloads

Published

2023-02-02