อินทกะอสุรบาล: นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์จากคติความเชื่อเรื่องยักษ์ในพุทธศาสนา

INTAKA ASURABAN: A CREATIVE THAI TRADITIONAL DANCE BASED ON DEITY MYTH IN BUDDHISM

Authors

  • เจษฎา เนตรพลับ

Keywords:

อินทกะอสุรบาล, นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์, ยักษ์ในพุทธศาสนา, Intaka Asuraban, Creative Thai Traditional Dance, Deity in Buddhism

Abstract

งานวิจัยสร้างสรรค์เรื่อง อินทกะอสุรบาล: นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์จากคติความเชื่อเรื่องยักษ์ในพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย ความเป็นมาของยักษ์ คติความเชื่อเรื่องยักษ์ ทวารบาล และบทบาทของยักษ์ในพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลงานนาฏศิลป์ไทยโดยใช้วิธีวิจัยสร้างสรรค์ (Practice as Research) ร่วมกับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ภาพถ่าย วีดีทัศน์ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การสร้างสรรค์ และการวิพากษ์ผลงาน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดของผลงานสร้างสรรค์ คือ อินทกะยักษ์อารักขเทวดาสำรวจโลก ประพันธ์บทโดยใช้กาพย์ฉบัง 16 และกลอน 8 ใช้วงดนตรีปี่พาทย์ไม้แข็ง บรรเลงเพลงหน้าพาทย์คุกพาทย์ พากย์บรรยาย ร้องเพลงพญาลำพอง ร้องเพลงกระบองกัน และเพลงเชิด โครงสร้าง การแสดงประกอบด้วย ส่วนนำเรื่อง อินทกะยักษ์ออกจากวิมาน ส่วนดำเนินเรื่องที่ 1 อินทกะยักษ์มุ่งสู่โลกมนุษย์ ส่วนดำเนินเรื่องที่ 2 อินทกะยักษ์สำรวจโลกมนุษย์ ส่วนดำเนินเรื่องที่ 3อินทกะยักษ์กลับที่ชุมนุมเทวดา และส่วนจบเรื่อง อินทกะยักษ์กลับสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ออกแบบท่ารำและลีลานาฏศิลป์โดยใช้ 1. ท่าเต้นโขน 2. รำหน้าพาทย์ 3. รำใช้บท 4. การแปรแถว และ 5. การตั้งซุ้ม ใช้ผู้แสดงชายจำนวน 9 คน แต่งหน้าเป็นยักษ์ แต่งกายยืนเครื่องยักษ์ครึ่งท่อนที่ได้แนวคิดมาจากยักษ์ทวารบาล และถืออาวุธหอกสีทองคำ  The research entitled Intaka Asuraban: A Creative Thai Traditional Dance Based on Deity Myth in Buddhism aimed to study its meaning, background, guard deity myth, and roles of deity in Buddhism to create a traditional Thai performance based on the data of guardian deity and roles of Intaka deity according to Tripitaka. Practice as research and qualitative research were the research method by collecting essential documents, photographs, VDO, interview, observation, creations, and work criticism. The results revealed that The conceptual framework manifested that Intaka deity accompanied the dava caretakers with a recital of kaap chabang 16 (a verse with 16 syllables per line), and glon 8 (verse with 8 syllables per line), and Kukpat song performed by Peepat music band. Payalampong and Krabongkan were sung; while, Cherd was finally performed. The performance structure was consisted of introduction (Intaka leaving the castle), story 1 (Intaka departing for human world), story 2 (Intaka exploring the human world), story 3 (Intaka back to the dava assembly), and the end (Intaka back to Catummaharajika heaven). The move and dance were designed by realizing the principles of Thai traditional dance, including 1) Khon dance, 2) Naphat dance, 3) dance with recital, 4) row marching 5) grouping nine performers were assigned to dace. Makeup denoted deity, with half-body deity costume. Golden spear were their weapons.

References

กิตติยวดี ชาญประโคน. (2560). ท้าวเวสสุวัณในสังคมไทย. ใน วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 36(2), 27-46.

จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา. (2540). วรรณคดีการแสดง. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ. (2560). ยักษ์: ศิลปกรรมแห่งจินตนาการ. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1. (77-89). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ บุรีรัมย์.

เชาว์ เภรีจิต. (2556). สัตว์ประดับและบริวารของทวารบาล: ที่มา คติการสร้าง รูปแบบแลพัฒนาการจากสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรภัทร์ ทองนิ่ม. (2556). การพากย์และเจรจาที่ใช้ในการแสดงโขน. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(1), 1-14.

ปัทมา สาคร. (2553). ทวารบาลแบบไทยประเพณีในงานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายกับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน และ ประยงค์ จันทร์แดง. (2552). การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของเทวดาที่ปรากฎในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). จตุมหาราชสูตร. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562, สืบค้นจาก http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd20.htm#!

มูลนิธิศิษย์วัดวีระโชติธรรมาราม. (2557). ตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2563, สืบค้นจาก http://watveerachotedhammaram.blogspot.com/2014/06/blog-post.html

ระพี เปรมสอน. (2555). จากทวารบาลแบบประเพณีมาสู่ทวารบาลแบบจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิลปากร, กรม. (2552). โขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.

สมรัตน์ ทองแท้. (2538). ระบำในการแสดงโขนของกรมศิลปากร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

Published

2023-02-02