การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจโดยใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

THE STUDY OF LEARNING ACHIEVEMENT AND SATISFACTION BY USING THE KHLUI PHAING AW PRACTICE PACKAGE FOR PRATHOMSUKSA 5 AT PIBOONBUMPEN DEMONSTRATION SCHOOL, BURAPHA UNIVERSITY

Authors

  • โอภาส สุวรรณโพธิ์
  • นัฏฐิกา สุนทรธนผล

Keywords:

ชุดฝึกทักษะ, ขลุ่ยเพียงออ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, Skills practice package, Khlui Phaing Aw, Academic achievement, Satisfaction

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และประเมินทักษะการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ ประชากรที่ใช้ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 26 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ สูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า การเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 2) ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ ทั้ง 2 ด้าน คือด้านคุณภาพของเนื้อหา ผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และด้านคุณภาพของชุดฝึกทักษะผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด  The purposes of this research are as follows: 1) to study the pre-study and post-study achievement and assessment of Khlui Phaing Aw skills practice among Prathomsuksa Five/Five students; 2) to study the level of student satisfaction with learning by using the Khlui Phaing Aw skills practice package. The population to be studied in this research were Prathomsuksa Five/Five students in the second semester of the 2021 academic year at Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University in the Muang District of Chonburi Province. The results revealed the following: 1) the results differed statistically at a level of .01, indicated that learning using the Khlui Phaing Aw skills practice package was higher than before study; 2) the satisfaction with learning by using the Khlui Phaing Aw skills practice package in both aspects was based on the quality of the content. The results of the analysis were at the highest level of satisfaction. In terms of the quality of the Khlui Phaing Aw skills practice package, the results of analysis were at the highest level of satisfaction.

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพ. วิชาการ(พว).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กานต์ธิดา กำแพงแก้ว. (2554). การใช้วิธีสอนแบบโคดายและกิจกรรมรูปภาพช่วยจำเพื่อส่งเสริมทักษะโสตประสาทของนักเรียนระดับชั้นต้น. (วิทยานิพนธ์ครุุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาดนตรีศึกษา.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน, องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิศาชล บังคม. (2553). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้านโสตทักษะตามแนวคิดโคดายสำหรับนักเรียนเปียโน ชั้นประถมต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2555). การสอนดนตรีของซูซูกิ (ระบบออนไลน์). ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://suppavit014.wordpress.com.

Thorndike, Edward Lee. (1975). Connectionism Theory. University of London.

Downloads

Published

2023-02-02