การสร้างสรรค์การขับร้องชุดบทเพลง “ห้วงแห่งรัก” จากบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา

THE CREATIVE SINGING HUANG HANG RAK SUITE FROM THE LEGITIMATE DRAMA, MADANABADHA

Authors

  • ลดาวัลย์ อาคาสุวรรณ

Keywords:

การสร้างสรรค์การขับร้อง, ชุดบทเพลงห้วงแห่งรัก, มัทนะพาธา, The Creative singing, Huang Hang Rak Suite, MADANABADHA

Abstract

งานวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์การขับร้องชุดบทเพลง “ห้วงแห่งรัก” จากบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การขับร้องชุดบทเพลง “ห้วงแห่งรัก” จากบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา ผลศึกษาพบว่า ชุดบทเพลง “ห้วงแห่งรัก” สร้างสรรค์ทำนองและนำเนื้อร้องมาจากบทละครพูดคำฉันท์ เรื่องมัทนะพาธาในองก์ที่ 3 ซึ่งเป็นองก์ที่มีความงดงามของภาษา เนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นความรักของท้าวชัยเสนและนางมัทนา ชุดบทเพลง “ห้วงแห่งรัก” ประกอบด้วย 6 เพลง ได้แก่ เพลงห้วงภวังค์ เพลงภวังค์รัก เพลงสัญญาราตรี เพลงอรุณแรกรตี เพลงความจริงของความรัก และเพลงปฏิญญา โดยนำองค์ประกอบบทเพลงอรุณแรกรตีมาพัฒนาเป็นทำนองเพลงอื่น ด้วยวิธีการเปลี่ยนบันไดเสียง การเลือกใช้โมด การใช้โน้ตนอกคอร์ด การยืดหรือหดค่าตัวโน้ต การสร้างสรรค์การขับร้องเป็นการตีความและแสดงความรู้สึกของตัวละคร โดยออกแบบลักษณะเสียงร้องในการถ่ายทอดความรู้สึกของบทเพลง ในการออกแบบการขับร้องผู้วิจัยได้ออกแบบการออกเสียงคำร้องให้ตรงตามคำในภาษาไทย การผันเสียงตามวรรณยุกต์ รวมถึงการสร้างเสียงเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ในบทเพลง เช่น การร้องปนลม การเน้น การเอื้อน การไถเสียง การโหนเสียง การกระเส่าเสียง การร้องโน้ตสะบัด การทำลูกคอ การหยอดเสียง และการผ่อนเสียง  This research entitled The Creative Singing of “Huang Hang Rak Suite” From The Legitimate Drama: MADANABADHA, has a primary purpose as to compose “Huang Hang Rak Suite” from the legitimate drama, MADANABADHA, and create the singing “Huang Hang Rak Suite” from the legitimate drama, MADANABADHA. The study revealed that the melody and lyrics of “Huang Hang Rak Suite” were influenced and inspired by the legitimate drama, MADANABADHA, Act 3, which demonstrate the beauty of language and is the beginning of love between the king and MADANA. The act has heavily dictated the suite and it has 6 songs; Reverie, first love, Promise of the night, Romance Dawn, The truth of love, and Love declaration, which using Romance Dawn as a theme to develop “Huang Hang Rak Suite” by utilized several techniques, for example Modulation Key, Modes, Non-chord tone, and Rhythmic Alteration, in order to harmonize the songs with the “Huang Hang Rak Suite”. Creative singing of “Huang Hang Rak Suite”, The researcher interpreted and demonstrated the feelings of characters through specifically designed voices to be a medium to project feelings of the songs. In the singing design process, the researcher has designed the pronunciation to synchronize with Thai word and tonal conjugation. Also, the researcher has designed the voice to express the emotional of the songs such as the breath onset, Accent, Vowel Migration, Bending, Slide, Vocal Shakes, Mordent, Vibrato, Hyod and Relieving voice.

References

กรมศิลปากร. (2550). บัณณ์ดุรีย์ วรรณคดีกับเพลง (เล่ม 2) ภาควรรณคดีไทยในเพลงไทยสากล. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ดวงใจ ทิวทอง. 2560. อรรถบทการขับร้อง: กระบวนแบบและนวัตกรรมการขับร้อง. กรุงเทพฯ: วิสคอมเซ็นเตอร์.

มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2554). บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา. กรุงเทพฯ: ศิลปา บรรณาคาร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). กวีวัจน์วรรณนา วรรคทองในวรรณคดีไทยพร้อมประวัติและคำอธิบาย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ลดาวัลย์ อาคาสุวรรณ. (2564). การวิเคราะห์บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธาเพื่อประพันธ์บทเพลงร้อง ชุดห้วงแห่งรัก. วารสารดนตรีและการแสดง, 3/(2), 124.

สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2556). จาก “วรรณคดี” สู่ “คีตศิลป์”. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

Downloads

Published

2023-02-02