การบรรเลงระนาดทุ้มในวงมโหรี กรณีศึกษาเพลงแป๊ะ สามชั้น

PLAYING METHODS OF RANAT THUM FOR MAHORI ENSEMBLE, A CASE STUDY OF PLENG PAE SAMCHUN

Authors

  • กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ

Keywords:

การบรรเลง, ระนาดทุ้ม, วงมโหรี, Playing Methods, Ranat Thum, Mahori Ensemble

Abstract

วงมโหรีเป็นการประสมวงดนตรีเก่าแก่วงหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ มีวิวัฒนาการคู่กับสังคมดนตรีไทยมาทุกยุคสมัยในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มขึ้นมา จึงมีการนำไปผสมไว้ในในวงมโหรีเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ ซึ่งลดขนาดของเครื่องดนตรีให้เล็กลง วงมโหรีที่มีหน้าที่ในการบรรเลงเพื่อการขับกล่อมจึงส่งผลให้การบรรเลงระนาดทุ้มในวงมโหรีแตกต่างจากการบรรเลงในวงปี่พาทย์ ลักษณะเด่นของการบรรเลงระนาดทุ้มในวงมโหรี ไม่โลดโผน บรรเลงเกาะทำนองฆ้องวงใหญ่หรือที่เรียกว่า “จาว” การบรรเลงมโหรีในปัจจุบันมักอยู่ในเวทีการประกวดทำให้การบรรเลงต้องนำหลักเกณฑ์ของการประกวดมาเป็นแบบแผนในการปรับวง การศึกษาเพลงแป๊ะ สามชั้น ทางระนาดทุ้ม ทางครูนัฐพงศ์ โสวัตร พบกลวิธี ได้แก่ การตีล่วงหน้า การตีล้าหลัง (การตีย้อย) การสะเดาะ การสะบัด การตีแบ่งมือ และการตีขโยก ลักษณะการบรรเลงระนาดทุ้มในวงมโหรียังคงใช้ลักษณะการบรรเลงระนาดทุ้มตามแบบแผนทั่วไป ผู้บรรเลงเลือกใช้กลอนระนาดทุ้มที่มีความเรียบร้อยเป็นหลัก  Mahori Ensemble was one of the oldest music ensembles from the past which belonged to Thai society. In the reign of King Rama 3rd, Ranat Thum was created and formed in Mahori Ensemble, as in Pipat Ensemble, with a smaller size. In addition, Mahori Ensemble has a duty for a lullaby, which makes Ranat Thum in Mahori Ensemble play differently from Pipat Ensemble. The notable style of playing Ranat Thum in the Mahori Ensemble is not to be exciting; the melody of Ranat Thum should play along with the KwangWongYai melody, known as “Jaaw” (main melody). Nowadays, playing Mahori Ensembleis for the music competition; therefore, the competition’s regulation was used for the Mahori ensemble playing form. The study of Pleng Pae Samchun for Ranat Tum for Mahori Ensemble belongs to Kru Nattapong Sowat. The six technics were found, including TeeLuangNa (before time), TeeLaLung (laid-back), Sador (mordent), TeeBangMue (alternation), and Tee Kayok (accent). The playing methods of Ranat Thum in the Mahori Ensemble are still the same as the regular Ranat Thum.

References

กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ. (2560). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาเพลงมโหรี. เอกสารอัดสำเนา.

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). เครื่องดนตรีไทย พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์เทพยพงศ เทวกุล ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: (ม.ป.พ).

ชัชวาล แสงทอง. (2557). วิเคราะห์เพลงเดี่ยวทุ้มเพลงกราวใน สามชั้น ทางครูพุ่ม บาปุยะวาทย์. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญญา รุ่งเรือง. (2546). ประวัติการดนตรีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

พิชิต ชัยเสรี. (2536). โน้ตฆ้องเพลงไทย ชุด สืบสานดุริยางค์ศิลป์. (ม.ป.พ).

พิชิต ชัยเสรี. (2557). การประพันธ์เพลงไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี ตราโมท. (2527). โสมส่องแสง : ชีวิตดนตรีไทยของมนตรี ตราโมท. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น จำกัด.

สงบ ทองเทศ. (17 มีนาคม 2566). สัมภาษณ์.

สงบศึก ธรรมวิหาร. (2542). ดุริยางค์ไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมิน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

เอกสิทธิ์ การคุณี. (10 มีนาคม 2562). สัมภาษณ์.

Downloads

Published

2023-07-27