การออกแบบนิทรรศการและกิจกรรม “พระเมตตาจากฟ้าสู่ดิน ถิ่นชลบุรี” พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี ณ ศรีราชา

EXHIBITION AND EVENTS DESIGNING ON ROYAL KINDNESS TO CHONBURI PEOPLES INTO HER MAJESTY QUEEN SRISAVARINDIRA MEMORIAL MUSEUM SRIRACHA

Authors

  • สุนันทา อ้นจรูญ
  • มนัส แก้วบูชา

Keywords:

พิพิธภัณฑ์, มรดกแห่งความทรงจำ, ปรับปรุงระบบทะเบียนทางวัตถุ, ออกแบบนิทรรศการและกิจกรรมพิเศษ, Memorial Museum Sriracha, Design exhibitions and special events, Create materials to support the museum

Abstract

วิทยานิพนธ์นี้ เป็นงานศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการออกแบบนิทรรศการและกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์เพื่อสร้างสื่อความหมายและคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมรดกแห่งความทรงจำทางวัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ งานศึกษาวิจัยนี้ผู้วิจัยใช้พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นกรณีศึกษา โดยนำข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาบริหารจัดการตามหลักการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ โดยทำการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่ผนวกกับการจัดกิจกรรมและนิทรรศการ ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี 2) เพื่อปรับปรุงทะเบียนวัตถุ 3) เพื่อออกแบบนิทรรศการ และกิจกรรมพิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับ “พระเมตตาจากฟ้าสู่ดินถิ่นชลบุรี” 4) เพื่อสร้างสื่อสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ ณ พิพิธภัณฑ์สมเด็จ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ตำบลศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยได้ออกแบบบริหารจัดการโบราณวัตถุภายในพิพิธภัณฑ์ตามหลักการบริหาร จัดการพิพิธภัณฑ์คือ การจัดนิทรรศการซ้อนพิพิธภัณฑ์ ในวันที่ 9-11 กันยายน พ.ศ.2563 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โดยใช้ชื่อว่า นิทรรศการและกิจกรรม “พระเมตตาจากฟ้าสู่ดิน ถิ่นชลบุรี” โดยเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมและจัดกิจกรรมพิเศษได้แก่ การจัดเสวนาทางวิชาการและการสาธิตทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของอำเภอศรีราชา เป็นการนำเสนอพิพิธภัณฑ์ให้เป็นที่ดึงดูดความสนใจของบุคคลทั่วไปที่มีต่อพิพิธภัณฑ์ และสร้างสื่อสนับสนุน ผู้วิจัยจึงได้ริเริ่มจัดทำทะเบียนวัตถุจัดแสดงใน พิพิธภัณฑ์ดังกล่าว ให้น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการยิ่งขึ้น  This qualitative research on exhibition and activity design for museums deals with the interpretation, meaning, historical values and memorial heritage of the exhibits. A case study for the redesign based on museum management principles is Her Majesty Queen Srisavarindira Memorial Museum Sriracha, located at Queen Savang Vadhana Memorial Hospital, Sriracha Medical Centre, Siracha district, Chonburi province. Historical and cultural information is used to display Royal multifarious duties of Her Majesty Queen Srisavarindira, the Queen Grandmother of Thailand. The objectives include: 1) To study history related to Her Majesty Queen Srisavarindira, the Queen Grandmother of Thailand; 2) To reorganize the registers of cultural objects in the museum; 3) To design exhibitions and organize special events related to “Royal Kindness to Chon Buri peoples”; 4) To create media for museum use and suggest guidelines for promoting the exhibition to public, allowing easy access to information on the museum. The redesigned museum and reorganized artifacts are in line with the museum management principles. The museum overlay exhibition and events are organized on September 9-11, 2020 A.D., the day of The Birth of Her Majesty Queen Srisavarindira. The exhibition entitled “Royal Kindness to ChonBuri peoples” is open for the public. Special events include academic seminars and demonstrations of local weaving arts and culture in Sriracha District. The study has proved the hypothesis that the museum attracts public attention given the redesigned information system and supporting materials. The new registration system for museum artifacts and new media to promote museum visits made the museum more interesting and useful for academic purposes.

References

กิตติ โล่เพชรัตน์. (2561). ขัตติยนารีแห่งแผ่นดิน (ย.เซียเฟอี Ed. Vol.1): สำนักพิมพ์ลูกบาศก์ห้าสิบสี่.

จารุณี อินเฉิดฉาย. (2545). เนื่องในวันพระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ครบ 100 ปี (Vol.1). โรงพยาบาลสมเด็จบรมราชเทวี ณ ศรีราชา: โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด.

ภารดี มหาขันธ์. (2558). ประวัติศาสตร์สังคมภูมิปัญญาท้องถิ่นอ่างศิลา (Vol.1). มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคม.

รักชนก โคจารนนท์. (2555). ความหมายพิพิธภัณฑ์ (อ.ชูโชติ Ed. Vol. 1): สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.

เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ, สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี. (2499). จดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (Vol. 1). กรมศิลปากร.

สุบิณ สืบสงวน. (2530, พฤศจิกายน 27, 2017). อนุสรณ์ในการฌาปนกิจ คุณพ่อสุบิณ สืบสงวน. หมอสุกเทวดา. Retrieved from https://www.sarakadee.com/2017/11/27/morsook/.

ICOM. (2554). IC-MEMO,. การประชุมสมาชิกประจำปีครั้งที่ 10. Retrieved from www.ic- memo.org.

กองโบราณคดี. (2532). ศิลปะถ้ำเขาจันทน์งาม. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: กรมศิลปากร.

ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล และอมลวรรณ คีรีวัฒน์. (2555). บทความรวบรวมขึ้นเพื่อดำเนินการขอเสนอพระนามพระพันวัสสาต่อยูเนสโก สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า.

Downloads

Published

2023-07-27