การขับเคลื่อนงานศิลปะและวัฒนธรรม : หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก

THE MOVEMENT OF CULTURAL ARTS IN EASTERN CENTRE OF ART AND CULTURE

Authors

  • สัจจพร เกษตรสินธุ์
  • มนัส แก้วบูชา

Keywords:

การขับเคลื่อน, ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, โมบายมิวเซียม, Movement, E – museum, Mobile – museum

Abstract

การวิจัยเรื่องการขับเคลื่อนงานศิลปะและวัฒนธรรมของหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมา บทบาท หน้าที่ของหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกนำมาวิเคราะห์หาข้อโดดเด่นและข้อห่วงใยมาเป็นแนวทางการขับเคลื่อนงานศิลปะและวัฒนธรรมของหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก ผู้วิจัยทำการศึกษา โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3 รูปแบบ คือ แบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้ที่มาใช้บริการหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก แบบสัมภาษณ์ซึ่งกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อการขับเคลื่อนงานที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปะและวัฒนธรรมของหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกและผู้มีความเชี่ยวชาญด้านงานพิพิธภัณฑสถานตลอดจนการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินงานของหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกมีการบริหารจัดการภายใต้การควบคุมดูแลของมหาวิทยาลัยบูรพาและคณะดนตรีและการแสดง จากบทบาทและหน้าที่ของหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกปัจจุบันยังมีข้อห่วงใยด้านผลงานศิลปะที่อยู่ในคลังของศิลปิน นิทรรศการถาวรขาดความน่าสนใจ นิทรรศการหมุนเวียน มิได้เกิดความเคลื่อนไหว การจัดการศิลปวัตถุและการประชาสัมพันธ์ต้องเพิ่มเติม ดังนั้นผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนงานศิลปะและวัฒนธรรมผ่านการกำหนดกิจกรรมการจัดทำ Issue Book ดังนี้ คือ การจัดทำทะเบียนวัตถุสู่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การนำเสนอสารสนเทศด้านข้อมูลสู่ E-museum การจัดแสดงนิทรรศการระดับชาติ การจัดแสดงนิทรรศการศิลปินดีเด่นของภาคตะวันออก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบทางเลือกและการนำเสนอการจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ตามลำดับ  This thesis “The movement of cultural arts in Eastern Centre of Art and Culture” aimed to study the history, roles and functions in Eastern Centre of Art and Culture. It was analyzed to find the concerntration of solution and outstanding as a guideline for the movement of cultural arts in Eastern Centre of Art and Culture. Methods employed in this thesis are questionnaries concerning visitors’ opinion and their satisfaction of Eastern Centre of Art and Culture; target interview related to the Eastern Centre of Art and Culture, Arts and culture events and experts in museums including participatory observation. From the research, operation of the Eastern Centre of Art and Culture was managed by the supervision of Burapha university and the faculty of Music and Performance. The role and function of the Eastern Centre Art and Culture are still facing obstacles. The permanent exhibition isn’t interesting; there is no different temporary exhibition. art objects management and public ralation should be improved. The researcher made the guidelines for the movement of cultural arts through the assignment of issue book activities as follows: Creating a register of objects to electronic information; Presentation of information to the E-museum; Exhibition of national artists; Exhibition of the East artists; Alternative learning activities and mobile exhibitions.

References

นิคม มูสิกะคามะ, กุลพันธาดา จันทร์โพธิ์ศรี, และมณีรัตน์ ท้วมเจริญ. (2512). วิชาการพิพิธภัณฑ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนพานิช.

เนาวรัตน์ พลายน้อย. (2551). เครื่องมือทางสังคมเพื่อการเรียนรู้ในบริบทเปลี่ยนผ่าน: ชุดความรู้ขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะ. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2550). การจัดการความรู้ (KM) ฉบับขับเคลื่อน LO. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ใยไหม.

มนัส แก้วบูชา (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชาพิพิธภัณฑ์ศึกษาและการจัดการ. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชาติ เถาทอง. (2542). ศิลปกรรมบูรพา ความฝันกว่าสองทศวรรษ. โครงการหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

Published

2023-07-27