การสร้างสรรค์บทเพลงเทิดพระเกียรติชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน
Royal Honouring Music Composition: Phra Mae Yoo Hau Khong Phan Din
Keywords:
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, บทเพลงเทิดพระเกียรติ, พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน, Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother, Royal Honouring Music, Phra Mae Yoo Hua Khong Phan DinAbstract
การศึกษาวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์บทเพลงเทิดพระเกียรติชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการประพันธ์เพลงชุดพระแม่อยู่หัวของแผ่นดินและเพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านดุริยางค-ศิลป์ไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า พระราชประวัติของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ จำแนก 6 ด้านได้แก่ ด้านความมั่นคงของชาติ ด้านการอนามัยและสังคมสงเคราะห์ ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านศิลปาชีพ ด้านการศึกษา และด้านศิลปวัฒนธรรม วิธีการประพันธ์ยึดหลักการประพันธ์เพลงไทยบรรเลงลักษณะบรรยายเรื่องราว แบ่งทำนองออกเป็น 4 ช่วง รวม 9 บทเพลง ได้แก่ เพลงแรกแย้ม เพลงพระราชประวัติ ท่อน 1 เสียงของแม่ ท่อน 2 แผ่ไทยผอง ท่อน 3 ชนซาบซึ้ง เพลงพระราชกรณียกิจ 6 เพลง ได้แก่ เพลงแดนดิน เพลงแพทย์หลวง เพลงอนุรักษ์ เพลงสืบศิลป์ เพลงดินสอ เพลงมรดก และเพลงสรรเสริญ ได้แก่ เพลงพระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน มีวิธีการประพันธ์ทำนองเพลง 3 รูปแบบ ได้แก่ การนำทำนองต้นรากส่วนหนึ่งของบางเพลงมาเป็นทำนองสัญลักษณ์ในการประพันธ์ การอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 9 และการประพันธ์ขึ้นโดยอัตโนมัติจากจินตนาการตามพระราชกรณียกิจ บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวมและวงดนตรีประยุกต์ร่วมสมัย This research study on royal honouring music composition: Phra Mae Yoo Hua Khong Phan Din, aims to create knowledge about the composition of Phra Mae Yoo Hua Khong Phan Din and to create works on Thai musical instruments in the Phra Mae Yoo Hua Khong Phan Din. A qualitative research methodology was used for studying documentary data and interviewing experts in the field of music. The results showed that the royal biography of Her Majesty Queen Sirikit, Queen Mother, performed royal duties classified into six areas, namely national security, health and social work, environment and natural resource conservation, arts and crafts, education, and cultural arts. The composing methods are based on the principles of Thai composing that convey the song of auspiciousness and various periods of royal history using musical tactics to describe the story. The melody is divided into four parts, totalling nine songs, namely Raek Yaem; 3 verses of the royal history songs (verse 1: the voice of the mother, verse 2: Phae Thai Phong, verse 3: Chon Saab Sueng); 6 songs of royal duty including Dan Din, Jeb Khai Rak Sa, A Nu Rak, Sueb Silp, Din Sor, Mo Ra Dok; and the last part is the hymn, such as Phra Mae Yoo Hua Khong Phan Din song. There are three styles of composing methods: the first style, bringing some of the roots of some songs as a symbolic melody; the second style, the invocation of royal songs; and the final style is automatically composed of the imagination according to the royal duties. The band used to play these Pipad Mai Nuam and contemporary applied ensemble.References
กำจร หลุยยะพงศ์. (2544). สตรีศึกษา 2 ผู้หญิงกับประเด็นต่าง ๆ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ สำนักงานนายกรัฐมนตรี.
นัทธี เพชรบุรี และ ชาสินี สำราญอินทร์. (2561). ภาพลักษณ์พระราชาแห่งอุดมคติจากภาพพจน์ในบทเพลงเทิดพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. [วิจัยคณะศิลปะศาสตร์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ประยูร พิศนาคะ. (2515). สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. โรงพิมพ์เจริญกิจ.
ประยุทธ สิทธิพันธ์. (2505). สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. สำนักพิมพ์กรุงธน.
พรธาดา สุวัธนวนิช. (2550). ผู้หญิงกับบทบาทความเป็นแม่ในนวนิยายไทยตั้งแต่ พ.ศ.2510-2546. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2530). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. โอเดียนสโตร์.
แสง จันทร์งาม. (2542). ศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. ไทยวัฒนาพานิช.
สุคนธรัตน์ สร้อยทองดี. (2552). การนำเสนออุดมการณ์ความเป็นแม่ในวาทกรรมโฆษณาในนิตยสารสำหรับครอบครัว. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรรถวิทย์ รอดเจริญ. (2552). ลีลาภาษาในบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. วารสารมนุษยศาสตร์, 16(1).