การประพันธ์และเรียบเรียงเพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด

Music Compositions and Arrangements for Music Performance by Master Amnad Noon-Iead

Authors

  • ปภัค แก้วบุญชู
  • ขำคม พรประสิทธิ์

Keywords:

การประพันธ์เพลง, เพลงประกอบการแสดง, ครูอำนาจ นุ่นเอียด, Compositions, Theatrical pieces, Master Amnad Noon-iead

Abstract

งานบทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวประวัติและผลงานของครูอำนาจ นุ่นเอียด และเพื่อศึกษาวิธีการประพันธ์และเรียบเรียงเพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่า ครูอำนาจ นุ่นเอียด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2494 เป็นชาวจังหวัดพัทลุงเริ่มฝึกหัดดนตรีด้วยตัวเองตั้งแต่วัยเด็ก จากนั้นก็ฝึกเป่าปี่จนมีความรู้ความชำนาญในการบรรเลงเครื่องดนตรีโนราและหนังตะลุงในทุก ๆ ชิ้น โดยเฉพาะปี่ ในการวิเคราะห์เพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด พบว่า การแสดงมีทั้งหมด 16 ชุดการแสดง ใช้เพลงจำนวน 73 เพลง และมี 14 เพลงเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยแต่ละเพลงมีความไพเราะอยู่ในตัวด้วยกันทั้งสิ้น มีการเปลี่ยนบันไดเสียงและใช้เสียงหลุมเพื่อให้เกิดสำเนียงที่ไพเราะอ่อนหวาน และยังมีลักษณะที่โดดเด่นอื่น ๆ อยู่อีก 5 ประการได้แก่ 1) การใช้เสียงเด่น หรือที่เรียกว่า Pillar Tone 2) การย้ำทำนอง 3) การใช้กระสวนจังหวะของทำนองแบบคงที่ 4) การใช้ทำนองโอดพัน และ 5) การใช้ทำนองฉายรูป ครูอำนาจประพันธ์โดยใช้วิธีการพลิกแพลงทำนองจากทำนองเพลงเดิมที่มีอยู่ การยุบโดยตรงและการยุบโดยวิธีการพลิกแพลงทำนองจากเพลงเดิมที่มีอยู่ ตามหลักการประพันธ์เพลงและยังต้องอาศัยจินตนาการในการสร้างสรรค์ทำนองที่มีลักษณะเฉพาะเพลงขึ้นมา  This qualitative thesis aims to study the life and musical works of master Amnad Noon-iead and to examine the techniques used in his compositions and arrangements. It was found that Amnad Noon-iead was born in 1951 in Pattalung, a province in Southern Thailand. A self-taught musician, Amnad is adept in playing pii, a reed instrument, to accompany nora and nang talung, two popular theatrical performances in Southern Thailand. In the analysis of Amnad’s theatrical musical pieces, it was found that there was a total of 73 pieces used across sixteen performance items. Out of the 73 available pieces, fourteen of them were composed by Amnad, each bearing distinct musical signature. To create new pieces, metabole and the use of the fourth and seventh degree pitches were employed to render mellifluous melodies. In addition, five prominent compositional techniques were observed: 1) the use of the “pillar tone” or primary pitch, 2) melodic doubling, 3) consistent rhythmic patterns, 4) the use of ood-phan melodies, and 5) the use of chai ruup melodies. These techniques were an indicator of a seasoned composer who truly understood the traditional music and had a great command, resulting in the characteristically unique outputs.

References

คฑาวุธ พรหมลิ. (2552). กลวิธีการบรรเลงปี่โนราของครูอำนาจ นุ่นเอียด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ชัยเสรี. (2556). การประพันธ์เพลงไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงัด ภูเขาทอง. (2532). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. เรือนแก้วการพิมพ์.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2524). ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้. โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์.

Downloads

Published

2024-01-24