การวิเคราะห์ทักษะการบรรเลงของบทฝึกเอทูดสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม “อินทัช หมายเลข 1” ประพันธ์โดยมานิต บูชาชนก
The Analysis Performance’s Skills of Étudeforwind Band “In Touch No.1” Composed by Manit Buchachanok
Keywords:
เอทูด, อินทัช, วงดุริยางค์เครื่องลม, Étude, In Touch, Wind BandAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์บทฝึกเอทูดสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม “IN TOUCH หมายเลข 1” ประพันธ์โดยมานิต บูชาชนก มีลักษณะเป็นบทเพลงที่สามารถนำไปใช้ในการบรรเลงเพื่อออกแสดง และฝึกฝนทักษะการบรรเลงได้ เหมาะสำหรับการพัฒนาทักษะการบรรเลงดนตรีในระดับสูง โดยบทประพันธ์เอทูดนี้ สามารถนำไปใช้ในการประเมินทักษะด้านคุณภาพเสียงการบรรเลงของวงดุริยางค์เครื่องลม โดยเป็นไปตามหลักการของ 4In เป็นหลักการสำคัญสำหรับองค์ประกอบที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพเสียงที่ดี ประกอบไปด้วย In Tone In Tune In Time และ In Touch เป็นต้น สำหรับบทฝึกเอทูด เป็นกาiรวบรวมเอาทักษะและเทคนิคการฝึกซ้อมของวงดุริยางค์เครื่องลมมาเรียบเรียงและประพันธ์แนวทำนองขึ้นโดยจัดอยู่ในองค์ประกอบ In Touch ตามหลักการแบบ 4In บทฝึกนี้มีรูปแบบจังหวะเดินแถว ซึ่งเป็นคุณลักษณะการบรรเลงที่มีบทบาทต่อการบรรเลงบทเพลงของวงดุริยางค์เครื่องลมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้บรรเลงสามารถฝึกฝนทักษะการบรรเลงบทเพลงในจังหวะเดินแถว เพื่อที่จะพัฒนาต่อยอดจนสามารถนำไปสู่การบรรเลงบทเพลงที่มีระดับสูงขึ้นต่อไปได้ This objective of this article is to present an étude analysis for the “IN TOUCH No.1” composed by Manit Buchachanok. It is a song that can be used to perform and practice skills. It is suitable for the development of high-level musical skill. It can be used to evaluate the sound quality skills of the wind orchestra, bases on the principle of 4In, as an important principle for the composition that will lead to the development of good sound quality, including in Tone, In Tune, In Time and in Touch. For the Etude training, it is a collection for the skills and techniques of the wind orchestra to compose and compos the melody in the in Touch element according to the 4In principle. The performers can practice their playing skills in the rhythm of the walk. In order to further develop, it can lead to higher levels of musical performance.References
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2554). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์เกศกะรัต.
Battisti, Frank L. (2002). The Winds of Change: The Evolution of the Contemporary American Wind. Band/Ensemble and its Conductor. FL: Meredith Music Publications International.
Corporon, Eugene. (2008). Chapter2. in. Neigid, Kenneth L. (Ed.). Rehearsing the Band. MD: Meredith Music Publications.
Drinkwater, Amanda. (2017). Rehearsing the Band. In Zarco, John. (Ed.). Volume 3. FL: Meredith Music Publication.
Gale, Bruce. (2010). Articulation. Retrieved February 1, 2021, http://www.theconcertband.com/index.php/band-training/articulation
Pelletier, J. Andrew. (2002). Embouchure Health: Consistency Maintenance. TBA Journal. 15(2021), http://apps.texasbandmasters.org/archives/pdfs/bmr/2002-09-pelletier1.pdf