กลองขุมดิน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดนตรีล้านนา
Khum Din Drum as Lanna Musical and Cultural Heritage
Keywords:
กลองขุมดิน, ภูมิปัญญา, วัฒนธรรมดนตรีล้านนา, Glong Kum Din, knowledge, Lanna music and cultureAbstract
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการนำเสนอแนวความคิดมรกดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดนตรีล้านนา มีเรื่องราวความเป็นมาของเครื่องดนตรีที่ได้พัฒนาขึ้นจากภูมิปัญญาของศิลปินพื้นบ้าน โดยจะนำเสนอในเครื่องดนตรีประเภท “กลอง” ศิลปวัฒนธรรมล้านนาเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้ทางด้านศิลปะที่ถ่ายทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน มีเอกลักษณ์ทางภูมิภาคที่โดดเด่นในเรื่องของศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะในเรื่องของวัฒนธรรมดนตรีล้านนา ศิลปวัฒนธรรมดนตรีของล้านนามีความเป็นอัตลักษณ์ ทั้งเรื่องของเครื่องดนตรี และสำเนียงดนตรี โดยเฉพาะเครื่องดนตรีประเภท “กลอง” ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่แพร่หลายตามภูมิภาคต่าง ๆ มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ เสียงที่ดังก้องกังวานและมีความไพเราะตามคุณลักษณะของวัสดุที่ทำขึ้น ประกอบกับลีลาการตีกลอง ที่ได้รับสร้างสรรค์อย่างมีศิลปะ กลองหลาย ๆ ชนิดเป็นที่รู้จักอย่างดีโดยทั่วไป สำหรับทางวัฒนธรรมดนตรีล้านนานั้น กลองขุมดิน เป็นกลองอีกชนิดหนึ่งที่สืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีคำกล่าวว่าในสมัยโบราณนั้น มนุษย์ได้ประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรีขึ้นมา เพื่อใช้สำหรับเตือนภัยของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในถ้ำ ใช้ตีเพื่อบอกสัญญาณให้ผู้ที่อาศัยได้รับรู้ถึงเหตุการณที่จะเกิดขึ้น โดยจะใช้มือตีที่บริเวณปากหลุมให้เสียงดังกังวาน ต่อมาสิ่งนี้ได้เกิดเป็นเครื่องดนตรีจากแนวคิดทางภูมิปัญญาของศิลปินล้านนาที่ได้พบเห็นแล้วนำมาพัฒนาเป็นกลองดิน หรือ กลองขุมดิน จากศิลปินของล้านนา 2 ท่านได้แก่ พ่อครูคำ กาไวย์ และพ่อครูมานพ รายะณะ ในทางความเชื่อของกลองขุมดินจะมีความเชื่อว่าเป็นการตีเพื่อเรียกฝนให้ตกลงมาสู่พื้นดินเพื่อความอุดมสมบูรณ์ โดยครูทั้งสองท่านได้พัฒนามาเป็นกลองดินฉบับของตน พ่อครูคำ กาไวย์ ได้พัฒนากลองดินมาเป็นลักษณะของกลองกาบหมาก โดยการขุดดินลักษณะแบบเดิมแต่ใช้แผ่นกาบหมากมาวางที่ปากหลุม จากนั้นใช้ไม้ไผ่มาวางตรงกลางในแนวตั้งนำเชือกมาคลึงให้ตึงและใช้ไม้ตี ส่วนพ่อครูมานพ รายะณะ ได้อนุรักษ์แบบดั่งเดิมไว้ เพียงแต่ได้ใช้หนังมาหุ้มที่ปากหลุม ต่อมาพ่อครูมงคล เสียงชารี ลูกศิษย์ของพ่อครูมานพ รายะณะ ได้นำแนวคิดของครูมาต่อยอด โดยการปั้นกลองที่ใช้วัสดุจากดินผสมปูนซีเมนต์ขึ้นมา เพื่อสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ และเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวต่อไป บทความนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์และเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในวงการศึกษาทางศิลปวัฒนธรรมดนตรีล้านนาที่จะช่วยกันอนุรักษ์ ต่อยอด และเกิดการสร้างสรรค์ในทางศิลปะสืบไป This article aims to introduce a traditional Lanna drum as Lanna musical and cultural heritage. The drum, as well as Lanna music as a whole, are unique with their distinct styles and melodic patterns, and have long history of being developed by local Lanna musicians. Drums, percussion instrument, are widely used in all regions in Thailand and well known for their echoey loud sound. The sound that drums produce depends on the instrument's shape and the materials they are made of. Khum Din drum or ‘Glong Khum Din’ is one of those drums invented long time ago and still found in Thailand to this day. This Khum Din drum was first invented by cavemen for the purpose of warning and caution signs, by hitting with bare hands, as signs used to make people aware of dangers. Thereafter, it was developed by two Lanna artists - Kham Kawai and Manop Yarana, into their own versions of ‘Glong Din’, that was used for calling for rain to keep land fertile. The drum was made by digging a hole in the ground, placing a sheet of betel palm husk on top, putting a bamboo stick vertically in the middle of the husk, pulling a string straight across the husk while having the string pressing down or holding the top of the standing bamboo stick firmly, then hit the string with small wooden sticks to produce the drum sound. Later on, Mongkol Shiengcharee, one of Manop Yarana’s students, had made the body of Glong Din of soil-cement mixture and placed it higher on the ground surface, which made it easily been spotted and used as a historical site for education. The author hopes that this paper will help getting ‘Glong Khum Din’ publicized and make the it more widely known among people working in this field, so that there will be more people continue conserving, expanding, and using the drum.References
เนตรนภิส พัฒนเจริญ และคณะ. (2563). การศึกษาวัฒนธรรมกลองสะบัดชัยแบบประยุกต์: กรณีศึกษา: ครูคำ กาไวย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 5(5), 96-97.
ปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล. (2553). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
วันชัยยุทธ วงษ์เทพ. (2556). ศิลปะกลองภูมิปัญญาล้านนา สู่การออกแบบภายในศูนย์ดุริยางคศิลป์ ล้านนา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สนั่น ธรรมธิ. (2550). นาฏดุริยการล้านนา. สุเทพการพิมพ์.
สุกรี เจริญสุข. (2538). ดนตรีชาวสยาม. Dr. Sax.
สุรพล ดำริห์กุล. (2524). ล้านนา. รุ่งอรุณ พับลิชชิ่ง.
อานันท์ นาคคง. (2537). ยังไม่สิ้นเสียงกลอง. ที่ระลึกงานไหว้ครูดนตรีไทย ประจำปีการศึกษา 2537 ภาควิชาดนตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
Published
2024-01-24
Issue
Section
Articles