การศึกษาการแสดงโขนคณะนายพิเชษฐ

The Study of Khon Directing from Nai Pichet’s Khon Troupe

Authors

  • ณัฏฐนันธ์ เอื้อศิลป์

Keywords:

พิเชษฐ กลั่นชื่น, โขน, ศิลปะการแสดงร่วมสมัย, Pichet Klunchun, Khon, Contemporary theatre

Abstract

บทความวิชาการนี้เป็นการถอดความรู้ของศิลปินและวิเคราะห์การแสดงโขนคณะนายพิเชษฐ กำกับการแสดงโดยนายพิเชษฐ กลั่นชื่น การออกแบบและสร้างสรรค์การแสดงโขนชุดนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงโขน ณ พิพิธภัณฑ์ The musée du quai Branly, Jacgues Chirac ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส 17-19 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยเปิดการแสดงให้ผู้ชมชาวไทยได้รับชมในวันที่ 4 มิถุนายน 2565 ณ ลานเครื่องบิน ช่างชุ่ย, กรุงเทพมหานครและจัดแสดง ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2566 การศึกษาครั้งนี้ผู้เขียนมีส่วนร่วมในการกำกับดนตรีประกอบการแสดงและทำหน้าที่ขับร้องจึงใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การจดบันทึกการทำงานและการสนทนากับผู้กำกับการแสดง นอกจากนั้นยังนำงานเขียนถอดความรู้จากการทำงานของผู้กำกับการแสดงบนสื่อออนไลน์เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์จึงพบว่า แนวคิดหลักในการกำกับการแสดงโขนคณะนายพิเชษฐคือ ความต้องการให้คุณภาพการแสดงโขนยังคงแนวทางตามแบบประเพณีแต่มุ่งเน้นการสร้างคุณภาพของนักเต้น การบรรเลงดนตรีและขับร้อง และการออกแบบท่ารำเพื่อสื่อสารกับผู้ชมร่วมสมัยโดยการรื้อมายาคติของตัวละคร การวิเคราะห์บท การตีความตัวละคร การจัดองค์ประกอบบนเวทีที่สามารถสร้างความหมายทำให้ผู้ชมรู้สึกและเข้าใจสถานการณ์ของเรื่องและตัวละครในขณะชมการแสดงโขน  This article was an artistic knowledge extraction and performance analysis of the Khon production of Nai Pichet Khon's Troupe through the Khon directing of Pichet Klunchun. The creation and design of this production determined to perform at The musée du quai Branly, Jacques Chirac, France, during 17-19 November 2021, which was premiered for Thai audiences at Changchui, Bangkok on 4 June 2022, later performed for the Faculty of Arts 50th Anniversary Celebration at Chulalongkorn University, Bangkok on 17 June 2023. For this study, I participated in music direction and performed as a vocalist. I collected data through participant observation, note-taking, and in-depth discussions with the director. Moreover, I analyzed the online article of Pichet Klunchun, which shows that the core concept of Nai Pichet Khon's Troupe direction was to maintain the quality of traditional Khon while creating more quality Khon dancers. The accompaniment of music and Khon choreography, the deconstruction of the character’s myth, the script analysis and interpretation, the stage composition are for communication to the contemporary audiences which can enjoy in the moment while watching Khon's Performance.

References

จุฬาลักษณ์ เอกวัฒนพันธุ์. (2562). ถอดบทเรียนเทพประนม ทฤษฎีแม่บทของศิลปินพิเชษฐ กลั่นชื่นเป็นการเรียนการสอน. ปรากฏการณ์การแสดง, โครงการวิจัยการแสดง: สร้างสรรค์ งานวิจัยสาขาศิลปะการแสดงไทย. บจก.ภาพพิมพ์.

Downloads

Published

2024-01-24