ผลของการทำกิจกรรมกลุ่มแก้ไขปัญหาต่อสุขภาพจิตของญาติผู้ป่วยจิตเวช

Effect of Group Activity Therapy on Mental Health of Family Members of Psychiatric Patients

Authors

  • อัมพร กุลเวชกิจ
  • ดวงแก้ว รอดอ่อง

Keywords:

สุขภาพจิต, ผู้ป่วยจิตเวช, กิจกรรมบำบัด

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการ ทํากิจกรรมกลุ่มแก้ไขปัญหาต่อสุขภาพจิตของญาติผู้ป่วย จิตเวช กลุ่มตัวอย่างคือญาติของผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับ การรักษาในหอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จํานวน 80 ราย ในช่วงเดือน มกราคม 2541 ถึงเดือนกรกฎาคม 2541 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กําหนด ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 40 คน กลุ่มทดลองคือกลุ่มที่ได้เข้าร่วม กิจกรรมกลุ่มแก้ไขปัญหาโดยทําทั้งหมด 6 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง ทุกวันจันทร์-พุธ-ศุกร์ รวม 2 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่ไม่ได้ เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มแก้ไขปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสํารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสุขภาพ (Health Opinion Survey) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการประเมินสุขภาพจิต ด้วยแบบสํารวจความคิดเห็น เกี่ยวกับสุขภาพในวันแรกที่ พาผู้ป่วยมารักษาและหลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ต่อมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละ และ T-test  ผลการวิจัยพบว่า ญาติผู้ป่วยกลุ่มทดลอง เมื่อวัดสุขภาพจิต 2 สัปดาห์ต่อมา มีสุขภาพจิตดีกว่าญาติผู้ป่วยกลุ่มควบคุม แต่ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สุขภาพจิตของญาติผู้ป่วย กลุ่มทดลองในช่วงก่อนและหลัง เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มแก้ไขปัญหา มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สุขภาพจิตของญาติผู้ป่วย กลุ่มควบคุมในช่วงสัปดาห์แรกและ สัปดาห์ที่ 2 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05  The purpose of this study was determine effects of group activity therapy on mental health of family members of psychiatric patients. The Sample of 80 family members of psychiatric patients was drawn by the selected criteria from a population of family members of psychiatric psychiatric patients who admitted in psychiatric ward, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University during the period between January 1998 to July 1998. The family members of psychiatric patients were randomly assigned into 2 groups : the experimental group who received group activity therapy 3 times a week in 2 weeks and the control group who did not received group activity therapy. The instrument used the Health Opinion Survey. The pre-test for mental health was done by the both groups. The post-test was done by the both groups after 2 week later. The data were analyzed by using Frequency, Percentage and T-test.  The results of this research were family members of psychiatric patients who received group activity therapy had better mental health more than family members of psychiatric patients who did not received group activity therapy but no significant at the 0.05 level. There were significant difference at the 0.05 level in mental health of experimental group between pre and post. There were no significant difference at the 0.05 level in mental health of control group between first week and 2 week later.

Downloads

Published

2022-09-16