การลดความเจ็บปวดในทารกที่ได้รับการทำหัตถการ : บทบาทของพยาบาลเด็ก

Relieving Procedural Pain in Infant : Role of Pediatric Nurse

Authors

  • ทัศนียา วังสะจันทานนท์

Keywords:

การพยาบาลกุมารเวชศาสตร์, ความเจ็บปวดในเด็ก, เด็ก

Abstract

          การทําหัตถการเพื่อการพยาบาลหรือเพื่อการ ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย เป็นสิ่งพบเห็นได้เสมอใน โรงพยาบาล หัตถการบางอย่างก่อให้เกิดความ เจ็บปวดแก่ทารกเป็นอย่างมาก แต่บางอย่างแม้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่ทารกมากนัก แต่ส่งผลให้ทารกไม่สุขสบาย หัตถการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ได้แก่ การใส่ท่อหลอดลมคอ การดูดเสมหะ การเจาะเลือด การฉีดยา การเจาะปอด การเจาะหลัง และการทําแผล ส่วนหัตถการที่ก่อให้เกิดความไม่สุขสบาย ได้แก่ การถอดท่อหลอดลม การเคาะปอด การตรวจสัญญาณชีพจร การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก การตรวจร่างกาย การใส่สายอาหารทางจมูกหรือปาก การฉีดยาเข้าเส้นเลือดดํา การแกะพลาสเตอร์ออกจากผิวหนัง และการผูกยึดร่างกาย ซึ่งการทําหัตถการ เหล่านี้มีผลกระทบต่อทารก ทั้งด้านสรีรวิทยา ด้านจิตใจ ตลอดจนการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากทารกไม่สามารถ สื่อสารถึงความรู้สึก และความรุนแรงของความเจ็บปวด ให้ผู้อื่นทราบได้ด้วยคําพูด ดังนั้นการประเมินความเจ็บปวด และลดความเจ็บปวดสําหรับทารกที่ได้ รับการทําหัตถการ จึงเป็นบทบาทที่สําคัญยิ่งของพยาบาลเด็ก มีงานวิจัยสนับสนุนว่า พยาบาลส่วนหนึ่ง ไม่ทราบถึงผลกระทบจากความเจ็บปวดใน การทําหัตถการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อทารก หรือทราบเป็นเพียงบางเรื่องเท่านั้น เช่น ไม่ทราบว่าความเจ็บปวดที่ทารกได้รับจากการทําหัตถการ สามารถทําให้ทารกมีอัตราการหายใจ และมีการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หรือไม่ทราบว่า ทารกที่ได้รับความเจ็บปวดที่รุนแรง และเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทําให้มีเลือดคั่งในสมอง หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นตามมาได้ รวมทั้งพบว่าพยาบาล ไม่มีวิธีช่วยลดความเจ็บปวดให้กับทารก ในขณะที่ทําหัตถการ (พีรภาพ คําแพง, 2539 : 69, ปัทมา กาคํา, 2540 : 58, Frank, 1998 : 439)  การลดความเจ็บปวดแก่ทารกที่ทําหัตถการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยวิธีที่ไม่ใช้ยานั้น เป็นบทบาทอิสระโดยตรงของพยาบาล ผลการศึกษาวิจัย พบว่าทารกที่ได้รับการช่วยเหลือบรรเทาความเจ็บปวดจาก พยาบาลในขณะที่เข้ารับการทําหัตถการนั้น ได้รับผลกระทบจากความเจ็บปวดน้อย สามารถเผชิญต่อความเจ็บปวดได้อย่างเหมาะสม (อัจฉรา พิทักษ์ศิลป์, 2540 ; ฐิติพร อุดมกิตติ, 2540) นอกจากนี้ การลดความเจ็บปวดโดยไม่ใช้ยา ยังช่วยหลีกเลี่ยงผลกระทบของ ฤทธิ์ข้างเคียงจากยาบรรเทาปวดที่อาจเกิดต่อทารกอีกด้วย  Agency for Health Care Policy and Research (AHCPR) ได้สรุปถึงแนวทางการประเมินความเจ็บปวด และวิธีการลดความเจ็บปวดในทารกไว้ดังนี้ (Furdon, 1998 : 337-338)

Downloads

Published

2022-09-16