ผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยต่ออาการอ่อนล้า ของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังที่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

Authors

  • สุภาภรณ์ รักผกาวงศ์
  • วารี กังใจ
  • พรชัย จูลเมตต์

Keywords:

โรคไตเรื้อรัง, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, อาการอ่อนล้า, การจัดการอาการ, ผู้สูงอายุ, น้ำมันหอมระเหย

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยต่ออาการอ่อนล้า ของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังที่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบจำลองการจัดการของ Dodd et al. (2001) ร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่มารับบริการในแผนกไตเทียม ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑั้กำหนดจำนวน 15 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย กลุ่มตัวอย่างได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหย เก็บรวบรวมข้อมูลในระยะเวลาก่อนการทดลอง 2 สัปดาห์ ระยะเริ่มการทดลอง ระยะระหว่างการทดลอง 2 สัปดาห์ และระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที โดยใช้แบบสัมภาสตร์อาการอ่อนล้าซึ่งมีความเชื่อมั่น เท่ากับ .97 วิเคราะห็ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และความแปรปวนแบบวัดซ้ำ และวิธีการเปรียบเทียบเชิงพหุคูณแบบนิวแมนคูลล์          ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยอาการอ่อนล้าในระหว่างการทดลอง 2 สัปดาห์ และหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที น้อยกว่าก่อนการทดลอง 2 สัปดาห์ และเริ่มการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=23.70, p< .01) การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยสามารถทำให้ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีอาการอ่อนล้าลดลง จึงเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมให้พยาบาลมีการนำโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยนี้ไปใช้กับผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีอาการอ่อนล้า เพื่อช่วยลดอาการอ่อนล้า           The objective of this quasi-experimental research with one group repeated measure design was to study effect of a symptom management program combined with aroma-therapy of fatigue among elder people with chronic kidney disease receiving hemodialysis. The samples were elder with chronic kidney disease receiving hemodialysis at the Burapha University Hospital Chonburi province during the period of March to April 2012. A simple random sampling method was used to recruit 15 samples of elder people. Data was collected at: 2 weeks before the experiment, starting the experiment, 2 weeks during the experiment, and after completing the experiment. Data related to fatigue was collected through the fatigue interviewing questionnaires. The reliability of this questionnaire was .97. The data were analyzed by using descriptive statistics, repeated measured analysis of variance and Newman-Keuls method.          The results were that the average fatigue scores in the experimental group during the 2 weeks of the experiment and immediately after completing the experiment were lower than 2 weeks before and during starting the experiment (F=23.70, p<.01) this study showed that the symptom management program combined with aromatherapy can decrease fatigue in elder people with chronic kidney disease receiving hemodialysis. Therefore, nurses should apply symptom management program combined with aromatherapy can decrease fatigue among these elder people.

Downloads