การพัฒนาแนวทางการลดความขัดแย้งในครอบครัวเพื่อป้องกันการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย
Keywords:
การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์, การบริหารความขัดแย้ง, ความสัมพันธ์ในครอบครัว, ครอบครัวAbstract
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางลดความขัดแย้งในครอบครัว และป้องกันการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาการสนทนากลุ่มบิดา-มารดาของเยาวชนไทย จำนวน 3 กลุ่ม รวม 24 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา แล้วจัดเวทีประชาคม 1 ครั้ง โดยมีชาวบ้าน 100 คนเข้าร่วม เพื่อปรับแนวทางลดความขัดแย้งในครอบครัวเพื่อป้องกันการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน ผลการวิจัยพบว่าบิดา-มารดาเสนอแนวทางลดความขัดแย้งในครอบครัว 5 แนวทาง คือ 1) การเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว 2) การสื่อสารทางบวก 3) การสร้างความเข้าใจ การยอมรับและการไว้วางใจในครอบครัว 4) การเสริมสร้างทักษะในการปรับตัวที่เหมาะสมให้แก่เยาวชนและ 5) การฝึกเยาวชนให้มีทักษะในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง แนวทางที่ได้สามารถนำไปพัฒนาเป็นกลยุทธ์สำหรับทีมสหวิชาชีพ เพื่อป้องกันการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนที่มีประสิทธิภาพผู้กำหนดนโยบายสามารถปรับใช้ผลการวิจัยเพื่อลดความขัดแย้งในครอบครัว นอกจากนั้นควรมีการวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับครอบครัวที่เสี่ยงต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยผสมผสานการเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว การสื่อสารทางบวกภายในครอบครัว การสร้างความเข้าใจ ยอมรับและไว้วางใจในครอบครัว การเสริมสร้างเทคนิคการปรับตัวและฝึกการแก้ปัญหาความขัดแย้ง This qualitative research design aimed to develop guidelines for resolving family conflict and preventing alcohol consumption among Thai youth. Data were collected through interviews of three focus groups of 24 parents in total, and analyzed by content analysis. Then, a community meeting with 100 villagers took place to revise the guidelines. The findings revealed that parents recommended five approaches for resolving family conflict; 1) strengthening family cohesion, 2) promoting positive communication, 3) building family agreement, acceptance and trust 4) strengthening youth coping skills, and 5) practicing conflict solving skills for youth. Multidisciplinary health care providers can apply the guidelines to develop effective strategies for youth alcohol consumption prevention. Policy makers can adapt the guidelines for resolving family conflicts. Moreover, further action research should include families vulnerable to alcohol consumption. The integral approaches for strengthening family cohesion, promoting positive communication, building family agreement, acceptance and trust, strengthening coping skills, and practicing conflict solving skills are recommended.Downloads
Published
2021-12-24
Issue
Section
Articles