ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร

Authors

  • อรเพ็ญ พงศ์กล่ำ
  • จิราวรรณ กล่อมเมฆ
  • พรรณี ปรรคลักษ์
  • ธัญวรรณ คุตมาสูนย์
  • วรวลัญช์ บันลือทรัพย์
  • มณิสรา ห่วงทอง

Keywords:

ความฉลาดทางอารมณ์, นักศึกษาพยาบาล, ประสบการณ์เข้าร่วมกิจกรรม, EQ

Abstract

          การวิจัยภาคตัดขวางแบบบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลในมหาวิทยาลัยเอกชน ด้านดี เก่ง สุข และโดยรวม และเปรียบเทียบความแตกต่างของความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล ด้านดี เก่ง สุข และโดยรวม ตามความแตกต่างของชั้นปีที่ศึกษา เกรดเฉลี่ยสะสม และประสบการณ์เข้าร่วมกิจกรรม  กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 260 คน ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมีนาคม – เมษายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือวิจัย ได้แก่  แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบที          ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 95.5-100.0) มีความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี เก่ง สุข  และโดยรวมอยู่ในระดับปกติถึงระดับสูง  นักศึกษาพยาบาลที่ศึกษาอยู่ชั้นปีต่างกัน  และเกรดเฉลี่ยสะสมต่างกัน มีความฉลาดทางอารมณ์ไม่แตกต่างกัน (p > .05) และนักศึกษาพยาบาลที่มีประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรม มีความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่งสูงกว่านักศึกษาพยาบาล ที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม (t = 2.068, p < .05) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า อาจารย์และผู้บริหารสถาบันการศึกษาพยาบาล ควรจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาล ได้มีประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรม ระหว่างการศึกษาในหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง  เพื่อส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ โดยเฉพาะด้านเก่งให้เพิ่มมากขึ้น            This cross-sectional descriptive study aimed to examine the levels of emotional quotient (E.Q.) among nursing students in a private university in goodness, intelligence, happiness, and the overall, and compare the differences of E.Q. in goodness, intelligence,  happiness,  and  the  overall  among the nursing students with their differences of years of study, cumulative grade point average (CGPA) and  experience  of  participation  in  activities.  A simple  random  sampling was used to recruit a sample of 260 nursing students who  were currently studying in year 1-4 of the 2nd semester in the academic year 2016 of a private university, Bangkok.  Data  were  carried  out  in  March  to April,  2017.  Research  instruments  included  a demographic  questionnaire  and  the  E.Q. questionnaire  with  its  Cronbach’s  alpha  of  .88. Descriptive statistics, One-way ANOVA, and t-test were utilized to analyze the data.          Results revealed that almost a total of the participants (95.5-100.0%) had normal to higher level  of  goodness,  intelligence,  happiness,  and the  overall  E.Q.  The  nursing  students  with differences of years of study and CGPA were found no difference of the E.Q. in goodness, intelligence, happiness, and the overall (p > .05). Additionally, nursing students who had experience of participation in activities had their E.Q. in intelligence higher than those who had no such the experience. These findings  suggest  that  nursing  instructors  and administrators  should  manage  teaching  and learning,  as  well  as  promote  experience  of participation  in  activities  for  nursing  students continually during the study program. As a result, the  E.Q.,  especially  in  intelligence  would  be increasing

Downloads