สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ภาคตะวันออก

Authors

  • นิสากร กรุงไกรเพชร
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล
  • ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
  • ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
  • ชรัญญากร วิริยะ
  • ตระกูลวงศ์ ฦาชา
  • อริสรา ฤทธิ์งาม
  • เจนจิรา เจริญการไกร

Keywords:

สมรรถนะพยาบาล, การสร้างเสริมสุขภาพ ‘ภาคตะวันออก

Abstract

          สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาล วิชาชีพเป็นคุณลักษณะที่สำคัญด้านความรู้  เจตคติและ พฤติกรรม  เพื่อช่วยให้ประชาชนลดภาวะเสี่ยงต่อโรค ลดความเจ็บป่วยที่สามารถป้องกันได้  วัตถุประสงค์ของ การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะ การสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคตะวันออก  กลุ่มตัวอย่าง  เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพทั้ง  3  ระดับบริการสุขภาพ จำนวนทั้งสิ้น 2,225 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล และระดับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการสร้างเสริมสุขภาพ  วิเคราะห์ความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ  .95  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว          ผลการวิจัยพบว่า  ระดับสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลทั้งภาพรวมและรายด้าน  ทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับพื้นฐาน โดยค่าเฉลี่ยสมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลในการสร้างเสริมสุขภาพ (M = 1.60, SD = 0.47) และด้านปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (M = 1.60, SD = 0.48)  ดีกว่าด้านอื่น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพทั้งภาพรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุ ตำแหน่งการทำงาน และประสบการณ์การทำงาน  ระดับการบริการสุขภาพมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะด้านการบริหารจัดการ ในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ดังนั้น องค์กรวิชาชีพการพยาบาลควรพัฒนาศักยภาพพยาบาล ในทุกระดับการบริการสุขภาพ ให้มีและแสดงสมรรถนะ การสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลทุกด้าน โดยมีหลักสูตรหรือแนวทางการพัฒนาสมรรถนะที่ชัดเจน            Health promotion competencies are important  attribute for nurse  consisting of knowledge, attitude, and practice on health promotion in order to  encourage people be enable decreased risk factors and reduced preventable  diseases. The objective of this descriptive research was to study level of nursing competencies on health promotion among nurses which working 3 levels of  health care service, eastern region of Thailand. Sample comprised 2,225  professional nurses were recruited by multi-stage random sampling. Research  instruments  were  self-report questionnaires including personal data and health promoting competencies scale which Cronbach’s alpha coefficient of .95. Data were analyzed by using descriptive statistics, Independent t-test and One-way ANOVA.          The results revealed that the nursing competencies on health promotion both overall and 5 different themes were assessed as fundamental  level.  The  competency  “personal characteristic in health promotion” (M = 1.60, SD = 0.47) and “Nursing practice in health promotion” (M = 1.60, SD = 0.47) had higher mean score than the other. Age, working position, and working  experience  were  statically  significantly associated with the level of nursing competencies on health promotion (p <.05). In addition, level of  health  care  was  statically  significantly associated with the competency “nursing practice in  health  promotion  management.  Therefore, nursing professional organization should enhance the nurses’ potential in all levels of health care on all health promotion competency dimensions by certain curriculum or guideline.

Downloads