ผลของโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติ ต่อภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวาน

Authors

  • สมจิตร เสริมทองทิพย์
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
  • ดวงใจ วัฒนสินธุ์
  • เวทิส ประทุมศรี

Keywords:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้เป็นเบาหวาน, โปรแกรมการบำบัด

Abstract

          การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติ แบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของผู้เป็นเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เป็นเบาหวานที่มีภาวะซึมเศร้าในระดับเล็กน้อยถึงระดับปานกลาง โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่งานวิจัยกำหนด จำนวน 24 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ประเมินภาวะซึมเศร้าโดยใช้แบบวัดภาวะซึมเศร้าของเบค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า ในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้น และระยะติดตาม ผลแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือน ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โปรแกรมการบำบัด ทางปัญญาบนพื้นฐานของสติแบบกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวานได้ ดังนั้นบุคลากรด้านสุขภาพ สามารถนำโปรแกรมฯ ไปประยุกต์ใช้ เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวานเพื่อการมีสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่ดี           The purpose of this study was to examine the effect of group mindfulness-based cognitive therapy program on depression among persons with diabetes who had mild to moderate depressive levels. The sample consisted of 24 persons with diabetes who met the inclusion criteria. They were randomly assigned into either experimental or control group (n = 12 in each group). Persons with diabetes in the experimental group participated in the mindfulness based-cognitive therapy program. Whereas the persons with diabetes in the control group received only routine care from the same setting. Thai version of Beck’s depression scale was used to measure depression. This scale yielded Cronbach’s alpha reliability of .83. Descriptive statistics using frequency, percent, mean, standard deviation, repeated measure ANOVA, and Bonferroni method for pairwise-comparison were employed to analyze the data.          The results revealed that the mean scores of depression at post-test and one-month follow-up phases in the experimental group were statistically significantly different from the control group. In the experimental group, the mean scores of depression at post-test and 1 month follow-up phase were also significantly lower than at pre-test.           Mindfulness-based cognitive therapy program in this study effectively reduced depression among persons with diabetes. Therefore, nurses and related health care providers could apply this program in order to promote mental health and enhance quality of life among these persons.

Downloads