ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพตามการรับรู้ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก

Authors

  • รักชนก คำมะนาง
  • นุจรี ไชยมงคล
  • สหัทยา รัตนจรณะ
  • โสรัตน์ วงศ์สุทธิธรรม

Keywords:

ภาพลักษณ์, พยาบาลเชิงวิชาชีพ, นักเรียนมัธยมศึกษา, การได้รับข้อมูลข่าวสาร

Abstract

          การศึกษาเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์ พยาบาลเชิงวิชาชีพกับข้อมูลทั่วไปของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 315 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคการศึกษาที่ 1/2559 โรงเรียน มัธยมตอนปลายในภาคตะวันออก เก็บรวบรวมข้อมูลเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน          ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ภาพลักษณ์ พยาบาลเชิงวิชาชีพโดยรวมเท่ากับ 4.10 จากคะแนนเต็ม 5.00 (SD = .85) เมื่อพิจารณารายด้านทั้งหมด 7 ด้าน ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือด้านรูปร่างและคุณลักษณะส่วนบุคคล (M = 4.38, SD = .72) ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านค่าตอบแทน (M = 96, SD = .96) นักเรียนที่ศึกษาชั้นปีที่ต่างกันมีการรับรู้ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่แตกต่างกัน (F = .18, p < 05) และนักเรียนที่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพยาบาลมาก มีการรับรู้ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่เหมาะสมมาก (r = .26, p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าพยาบาลวิชาชีพและผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการจัดการเพื่อพัฒนาภาพลักษณ์พยาบาลวิชาชีพพยาบาล รวมทั้งการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่เหมาะสม และเพื่อส่งผลต่อทัศนคติทางบวกของนักเรียนมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สำหรับการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาชีพการพยาบาล            This descriptive study aimed to examine image of professional nurse as perceived by high-school students with major in sciences-mathematics, comparison and relationships between the perception of image of professional nurse and the students’ demographic data. The multi-stage random sampling was used to recruit a sample of 315 students who were studying in Mathayomsuksa 4-6 with major in sciences-mathematics in academic year of 1/2016 in secondary schools of the eastern region. Data collection was carried in November 2016. Research instruments included a demographic questionnaire and the questionnaire of professional nurse’s image. Its reliability was .96. Data were analyzed by using descriptive statistics, t-test, one-way ANOVA and the Pearson correlation coefficient.          The results revealed that the total mean score of perception of professional nurse’s image was 4.10 out of 5.00 full score (SD = .85). When considering a total of 7 subscales, the highest mean score was a subscale of figure and personal characteristics (M = 4.38, SD = .72), and the lowest mean score was a subscale of income earning (M = 3.96, SD = .96). There was a significant different of perception of professional nurse’s image among students who studied with different years (F = 4.18, p < .05). The students with more receiving information about nurses had perceived more appropriated professional nurse’s image (r = .26, p < .001) These findings indicate that professional and administrative nurses could obtain the study outcomes to apply as a fundamental data in management for development of professional nurse’s image, as well as promotion and maintenance of appropriated professional nurse’s image. Consequently, positively attitude would be obtained toward high-school students with major in sciences-mathematics for their future selection studying in the nursing profession.

Downloads