รูปแบบการปรับปรุงคุณภาพการดูแลในสถานบริการสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง: กรณีคลินิกเด็กธาลัสซีเมียโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

Authors

  • อภิชญา อารีเอื้อ
  • สงครามชัย ลีทองดี
  • สุนทร ยนต์ตระกูล

Keywords:

การปรับปรุงคุณภาพ, การดูแล, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, โรคธาลัสซีเมีย, โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

Abstract

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพรูปแบบการดูแลในสถานบริการสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง กรณีคลินิกเด็กโรคธาลัสซีเมียโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้ให้บริการจำนวน 32 คน ผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียจำนวน 180 คน ผู้ปกครองเด็กธาลัสซีเมียจำนวน 180 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนธันวาคม 2559 ถึงเดือนมีนาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาการทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา            ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ พฤติกรรม และความพึงพอใจเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้รูปแบบการดูแลในสถานบริการในครั้งนี้เรียกว่า KALASIN Model โดยพบว่ามีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ การมีนโยบายการพัฒนาคุณภาพที่ชัดเจนของผู้บริหารองค์กร การจัดระบบบริการที่เน้นคุณภาพ และบูรณาการการจัดบริการโดยใช้ทีม สหสาขาวิชาชีพทั้งในและนอกสถานบริการภายใต้กลไกการสนับสนุนและการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าผู้บริหารองค์กรควรมีนโยบายการพัฒนาคุณภาพระบบการให้บริการที่ชัดเจน เพื่อส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพของการบริการเพิ่มมากขึ้น            This action research aimed to develop a model of for quality of care improvement for chronically ill patients’ services. It was a case study for pediatric Thalassemia clinic at Kalasin hospital. The participants included 32 health service providers, 180 dyads of children with Thalassemia and their caregivers. Data collection was carried out from December 2016 to March 2017. Descriptive statistics, t-test and content analysis were utilized to analyze the data.           The results revealed that the participants had significantly higher scores of knowledge, behaviors and satisfactory than those before the implementation. The new model for care services of “KALASIN” model was emerged which contained several key successes. There were the explicit policy for quality of care improvement of the executive administrator, process of management focusing on quality of care service and Integration of care services using multi-disciplinary health team for both inside and outside hospital under supporting mechanism system and continuous monitoring. These findings suggest that the hospital administrator should employ the policy for quality of care improvementobviously. Consequently, effectiveness of the services would increase.

Downloads