ผลของโปรแกรมการชี้แนะต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน และค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Authors

  • จำเนียร พรประยุทธ
  • ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล

Keywords:

โปรแกรมการชี้แนะ, พฤติกรรม, การควบคุมโรคเบาหวาน, ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม, ผู้เป็นเบาหวานชนิด, โรคเบาหวาน

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการชี้แนะผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง จำนวน 52 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการการชี้แนะ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับความรู้ในการปฏิบัติตนจากพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย โปรแกรมการชี้แนะ คู่มือพิชิตเบาหวาน โปสเตอร์อาหารแลกเปลี่ยน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติสถิติพรรณนา และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน          ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน มากกว่ากลุ่มควบคุมและมีค่าเฉลี่ยผลต่างค่าเฉลี่ยน้ำตาล สะสมลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 27.87, p < .001 และ t = -8.42, p < .001 ตามลำดับ) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากน้ำตาลในเลือดสูงได้            The purpose of this research was to examine the effects of a coaching program on diabetes behavioral control and HbA1C among people with type 2 diabetes mellitus. A simple random sampling technique was used to recruit a sample of 52 persons with type 2 diabetes mellitus in Maptaphut municipality, Rayong province. Then they were randomly assigned into either the experimental (n = 26) or the control (n = 26) groups. The experimental group received the coaching program whereas the control group received a routine service from the hospital. The intervention included the coaching program,handbook for diabetes control and a diabetic food poster. Data was collected by demographic questionnaires and diabetes behavioral control questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics and independent t-test.          The results revealed that after completion of the implementation, the experimental group had significantly higher mean difference scores of diabetic control behavior and HbA1C than those of the control group (t = 27.87, p < .001 and t = -8.42, p < .001, respectively). These findings suggest that nurses and other health professions can use this coaching program to enhance diabetes control behavior to reduce HbA1C among persons with type 2 diabetes mellitus.

Downloads