ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรก
Keywords:
ความเครียด, แม่, ย่า, ยาย เลี้ยงดูหลาน, ทารกปีขวบแรกAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของ ย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรกกลุ่มตัวอย่างคือ ย่า/ยายที่ทำบทบาทหลักแทนพ่อแม่ เป็นผู้เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรก เป็นระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไปในจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสกลนคร จำนวน 100 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลาน แบบสอบถาม ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเองในการทำบทบาท และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรก มีความเครียดในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 36.00 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของ ย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลาน ได้แก่ ความรู้สึกเป็นภาระด้านการเงิน (r = .249, p < .05) ความรู้สึกเป็นภาระด้านกิจวัตรประจำวัน (r = .306, p < .01) และความรู้สึกเป็นภาระด้านสุขภาพ (r = .350, p < .01) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติกับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลาน ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเองในการทำบทบาท (r = -.266, p < .01) และการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว (r = -.314, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการดูแล ย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลาน ควรมีการประเมินความเครียดในการทำบทบาทของย่า/ยายอย่างต่อเนื่อง และให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมและลดภาระด้านต่าง ๆ ให้แก่ย่า/ยาย The objectives of this study were to examine level of parenting stress and factors associated with parenting stress among grandmothers who raised their infant grandchildren. A total sample of 100 grandmothers who were primary caregivers of their infant grandchildren of at least 1 month in Ubon Ratchathani province, Roi-ed province, and Sakolnakorn province was recruited in the study by using multi-staged random sampling technique. Data were collected by using questionnaires including the Parenting Stress Index Short Form, the caregiver burden questionnaires, the self-esteem questionnaire, and the social support questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson product moment correlation coefficients. The results showed that 36% of grandmothers reported high level of parenting stress. Factors that had significant positive relationship with parenting stress were caregiving burden in the aspects of financial (r = .249, p < .05), daily activities (r = .306, p < .01) and health (r = .350, p < .01). Self-esteem and family social support were found to have significant negative relationship with parenting stress (r = -.266, p < .01; r = -.314, p < .01 respectively). These findings suggest that nurses should monitor and assess stress level of grandparents who were primary caregivers of grandchildren and provide appropriate interventions by focusing on promoting social support and decreasing caregiver burden.Downloads
Issue
Section
Articles