แรงจูงใจในการสูบบุหรี่และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนชายที่สมาชิกครอบครัวสูบบุหรี่

Authors

  • ชฎาภรณ์ วัฒนวิไล
  • วันเพ็ญ รักษ์ปวงชน

Keywords:

แรงจูงใจในการสูบบุหรี่, พฤติกรรมความตั้งใจไม่สูบบุหรี่, นักเรียนชาย, สมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่

Abstract

          การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยาย แรงจูงใจในการสูบบุหรี่และพฤติกรรมตามแผนความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 20 คน เป็นนักเรียนชายที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครนายก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2559 โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล จำนวน 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา          ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการสูบบุหรี่มาจาก 2 ประเด็นหลัก คือ 1) ความอยากรู้อยากลอง ได้แก่ ลองเลียนแบบ เข้าถึงบุหรี่ง่าย และแสดงความเท่ และ 2) ยอมรับว่าผู้ใหญ่สูบบุหรี่เป็นเรื่องปกติ พฤติกรรมความตั้งใจไม่สูบบุหรี่มี 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การควบคุมตนเอง ได้แก่ ตั้งใจอยู่ให้ห่าง และการเห็นโทษของบุหรี่ และ 2) การควบคุมจากครอบครัวและชุมชน ได้แก่ การสูบบุหรี่เป็นการทำความผิดต่อพ่อแม่ และวางเป้าหมายในชีวิต ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาแนวทางการลด อัตราการสูบบุหรี่ในเยาวชนโดยการลดแรงจูงใจ และเสริมสร้างพฤติกรรมความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ควรทำวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมตามแผนความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ในเยาวชนที่มีครอบครัวสูบบุหรี่ต่อไป           This qualitative approach aimed to describe motivation of smoking and non-smoking intension among boy students who have a smoking family member. A purpose sampling was used to recruit participants of 20 boys who were studying in grade 6 of an elementary school in Nakhon Nayok province. Research instruments included a demographic data form and a semi-structured interview developed by the researcher were used to collect the data. Data collection was carried out from February to April 2016 by using individual in-depth interview for 3 times with one week apart. Content analysis was used to analyze the data.          The results revealed that motivation of smoking was acquired from to 2 main themes. There were 1) curiosity and wanted to try such as imitation, ease of cigarette accessibility, and attractiveness, and 2) acceptance for adult smoking as normal. Non-smoking intension consisted of two main issues. There were 1) self- controlled included intention to stay away and perception of smoking hazards, and 2) controlling from family and community such as smoking as offense against their parents and setting up a goal in their life. These findings could be utilized to develop strategies to reduce smoking rate among youth by reducing smoking motivation and strengthening non-smoking intension. Additionally, an action research would be implemented to enhance non-smoking intention planned behavior among youths who have a smoking family member.

Downloads