ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิต ของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ปวีณา นพโสตร
  • อัจรา ฐิตวัฒนกุล
  • นิรดา กลิ่นทอง

Keywords:

ความแข็งแกร่งในชีวิต, นักศึกษาพยาบาล, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, แรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน

Abstract

          การวิจัยแบบบรรยายและหาความสัมพันธ์นี้ มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่เพศ สถานภาพสมรสของบิดามารดา รายได้ต่อเดือน คะแนนเฉลี่ยสะสม ความสามารถในการเผชิญปัญหาและ อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแรงสนับสนุน ทางสังคมจากเพื่อน กับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลในมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวก คือนักศึกษาพยาบาลในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร จำนวน 176 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมลูส่วนบุคคล แบบวัดความแข็งแกร่งในชีวิต แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบวัดความ สามารถในการเผชิญปัญหาและอุปสรรค และแบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .79, .83, .88, และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความแข็งแกร่ง ในชีวิตอยู่ในระดับปกติ (M = 62.86, SD = 7.04) ร้อยละ 79.5 และ 20.5 มีความแข็งแกร่งในชีวิตระดับปกติ และระดับสูง (M = 60.54, SD = 5.91 และ M = 71.86, SD = 2.07 ตามลำดับ) รายได้ต่อเดือน การรับรู้สมรรถนะ แห่งตน ความสามารถในการเผชิญปัญหาและอปุสรรค และ แรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน มีความสัมพันธ์ทางบวก กับความแข็งแกร่งในชีวิต (r = .16, p < .05, r = .48, p < .001, r = .43, p < .001 และ r = .30 p < .001 ตามลำดับ) ตัวแปรอื่นนอกจากนี้ไม่พบมีความสัมพันธ์ (p >.05) ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า มหาวิทยาลัย ควรจัดหางานพิเศษสำหรับนักศึกษาพยาบาลเพื่อมีให้รายได้ส่วนตัวเพิ่มขึ้น ส่งเสริมและสนับสนุนการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความสามารถในการเผชิญปัญหาและอปุสรรค และ แรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อส่งผล ทางบวกให้นักศึกษาพยาบาลมีความแข็งแกร่งในชวีติสูงขึ้น          This descriptive correlational research aimed to determine relationships between selected factors, including sex, parental marital status, monthly income, Grade Point Average (GPA), coping ability in facing adversity, perceived self-efficacy and social support from peers, and resilience among university nursing students. A convenience sampling was used to recruit 176 nursing students in a university in Bangkok. Research instruments included a demographic questionnaire, the Resilience Quotient’s scale, the Perceive Self-efficacy’s scale, the Adversity Quotient’s scale, and the Perceived Social Support from Friends’ scales. Their Cronbach’s alpha reliabilities were .79, .83, .88, and .93, respectively. Descriptive statistics and Pearson’s Product-moment correlation coefficients were used to analyze the data.          The results revealed that the mean score of resilience was at a normal level (M = 62.86, SD = 7.04), and 79.5% and 20.5% of the sample had their resilience at normal and high levels (M = 60.54, SD = 5.91 and M = 71.86, SD = 2.07, respectively). Monthly income, perceived self- efficacy, coping ability in facing adversity, and social support from peers were positively correlated with resilience (r = .16, p < .05, r = .48, p < .001, r = .43, p < .001, and r = .30 p < .001, respectively). These findings suggest that the university should provide a special job for nursing students to increase personal monthly income. In addition, perceived self-efficacy, coping ability in facing adversity, and social support from peers should also be promoted which could be positively consequent to increase resilience among nursing students.

Downloads