ผลการใช้การเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มเพื่อส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ในนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล

Authors

  • กมลรัตน์ เทอร์เนอร์
  • นวพร มามาก
  • ณัฐนิชา ศรีละมัย
  • ละเอียด แจ่มจันทร์

Keywords:

การเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็ม, ทักษะศตวรรษ ที่ 21, นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล, STEM, สะเต็ม

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและ หลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ การเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มเพื่อส่งเสริมทักษะศตวรรษ ที่ 21 ในนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือก แบบสะดวก จำนวน 114 คน เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ปีการศึกษา 2559 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการศึกษาอิสระ เครื่องมือ วิจัยประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มและประมวลรายวิชา และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมลูคือแบบสอบถาม การประเมินตนเองเรื่องทักษะศตวรรษที่ 21 มีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรรณนา และ paired t-test          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนทักษะศตวรรษที่ 21 เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ทั้งคะแนนรวมและรายด้านทั้ง 8 ด้าน ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้การเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มมีประสิทธิภาพ อาจารย์และผู้บริหารการศึกษาพยาบาลสามารถนำการเรียนรู้ แบบโครงงานสะเต็มนี้ไปใช้ในการจัดการศึกษาพยาบาล เพื่อให้ผู้เรียนได้มีทักษะศตวรรษที่ 21 ที่เหมาะสม          This one-group pretest-posttest quasi- experimental study aimed to examine effects of the STEM project-based (SPB) learning to enhance the 21st century skills in college nursing students. A convenience sampling was used to recruit a sample of 114 students of Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri in the 3rd year of academic year 2016. All participants enrolled in a course of Independent study. Research tools contained the instrument for implementation, including the program of SPB learning and the course syllabus, and instrument for data collection, including a questionnaire of self-evaluation about the 21st century skills. Its reliability was .95. Descriptive statistics and paired t-test were employed to analyze the data.          The results revealed that after completion of the intervention, the participants had mean scores of the 21st century skills significantly higher (p < .001) than those before the intervention both total and all 8 subscales’ scores. These findings indicate that this SPB learning is effective. Nursing instructors and academic administrators could utilize the SPB learning in nursing education to appropriately enhance the 21st century skills of the learners.

Downloads