ปัจจัยด้านครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านการคิด เชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียน

Authors

  • เบญจวรรณ ปิ่นทอง
  • นุจรี ไชยมงคล
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์

Keywords:

เด็กวัยก่อนเรียน, พัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร, ความเครียดในการเป็นมารดา, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ในเขตเทศบาล

Abstract

          การวิจัยแบบบรรยายและหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัย ด้านครอบครัวกับพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็ก วัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เป็นมารดาของเด็กวัยก่อนเรียน จำนวน 198 คน ที่นำบุตรมารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดชลบรีเก็บรวบรวมข้อมลูระหว่าง เดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามและสังเกต สภาพแวดล้อมที่บ้าน แบบสอบถามความเครียดในการเป็นมารดา และแบบสอบถามพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็ก มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .70 .95 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์ สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน          ผลการวิจัยพบว่าพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร ในเด็กวัยก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 87.24 (SD = 20.01) ความเครียดในการเป็นมารดามีความสัมพันธ์ทางลบกับ พัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.147, p < .05) ตัวแปรอื่นไม่พบ มีความสัมพันธ์ (p > .05) ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรจัดกิจกรรมลดความเครียด ในการเป็นมารดา เพื่อส่งผลใหเ้ด็กวัยก่อนเรียนมีพัฒนาการ ด้านการคิดเชิงบริหารที่เหมาะสม           This descriptive correlational research aimed to examine relationships between family factors and executive function development in preschool children. A multi-stage random sampling was used to recruit a sample of 198 mothers of their preschool children receiving services in child care centers in the municipality of Chon Buri province. Data were carried out from January to February 2018. Research instruments included a demographic questionnaire, the Home Observation the Measurement of Environment inventory, the Parenting Stress Index, and the executive function development in preschool children’s scale. Their reliability were .70, .95, and .96, respectively. Descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficients were used to analyze the data.          The results revealed that the mean score of executive function in preschool children was 87.24 (SD = 20.01). Parenting stress was negatively correlated to executive function in preschool children (r = -.147, p < .05), and others were found no significant relationship. These findings suggest that nurses and related personnel should develop activities to decrease parenting stress. Consequently, preschool children would have appropriate executive function.

Downloads