ปัจจัยทำนายความสามารถในการตัดสินใจของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลเอกชน

Authors

  • จิรัชยา เหล่าเขตร์กิจ
  • อารีรัตน์ ขำอยู่
  • เขมารดี มาสิงบุญ

Keywords:

ความสามารถในการตัดสินใจ, ความฉลาดทางอารมณ์, อิสระในการทำงาน, พยาบาลหัวหน้าเวร, โรงพยาบาลเอกชน

Abstract

          การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทำนายความสามารถในการตัดสินใจของพยาบาล หัวหน้าเวร ได้แก่ ความมีอิสระในการทำงาน และความฉลาด ทางอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย คือ พยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนที่ปฏิบัติหน้าที่เป็น พยาบาลหัวหน้าเวร จำนวน 81 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือน กันยายน ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความฉลาดทางอารมณ์ ความมีอิสระในการทำงาน และ ความสามารถในการตัดสินใจของพยาบาลหัวหน้าเวร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.90, .91 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบมาตรฐาน          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถ ในการตัดสินใจอยู่ในระดับสูง (M = 4.03, SD = .47) ความฉลาดทางอารมณ์ (Beta = .660) และ ความมีอิสระ ในการทำงาน (Beta = .322) ร่วมกันทำนายความสามารถ ในการตัดสินใจของพยาบาลหัวหน้าเวร ได้ร้อยละ 72.1 (F(104.16) = 12.56, p < .001) ผลการศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะ ว่าผู้บริหารทางการพยาบาลควรส่งเสริมให้พยาบาล หัวหน้าเวรมีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณอ์ย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้มีอิสระในการทำงานตามขอบเขตวิชาชีพ ซึ่งจะส่งผลให้พยาบาลหัวหน้าเวรมีความสามารถในการ ตัดสินใจที่ดี          This predictive research aimed to examine predicting factors of decision-making ability of charge nurses, including job autonomy and emotional intelligence. A simple random sampling was used to recruit a sample of 81 nurses who were responsible as charge nurses in private hospitals. Data collection was carried out from September to October 2017. Research instruments included a demographic questionnaire, the emotional intelligence’s scale, the job autonomy’s scale and the decision-making ability questionnaire. Their reliability were .90, .91, and .95 respectively. Descriptive statistics and standard multiple regression were employed to analyze the data.          The results revealed that mean score of decision-making ability was at a high level (M = 4.03, SD = .47). Emotional intelligent (Beta = .660) and job autonomy (Beta = .322) together accounted for 72.1% of variance in the prediction of decision-making ability of charge nurses. These findings suggest that nursing administrators should promote and support charge nurses in developing their emotional intelligent continually and provide freedom of job autonomy based on professional standard. Therefore, better decision-makingability of charge nurses would be achieved.

Downloads