การติดตามประเมินสมรรถนะและการปฏิบัติบทบาทการพยาบาล เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ พื้นที่ภาคตะวันออก ของประเทศไทย

Authors

  • เพ็ญจันทร์ มีแก้ว
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • นิสากร กรุงไกรเพชร
  • ชรัญญากร วิริยะ

Keywords:

สมรรถนะพยาบาล, การสร้างเสริมสุขภาพ, ภาคตะวันออก

Abstract

          การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตาม ประเมินสมรรถนะและการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ พื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย คือพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการพยาบาล ที่ร่วมเป็นศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมโครงการขับเคลื่อนวิชาชีพการพยาบาล เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ 6 แห่ง จำนวน 310 คน ใน 7 จังหวัดในภาคตะวันออก เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามระดับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้าน การสร้างเสริมสุขภาพ และการปฏิบัติบทบาทของพยาบาล วิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับชำนาญ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิมีสมรรถนะด้านการบริหารจัดการในการสร้างเสริมสุขภาพ สูงกว่าผู้ที่ปฏิบัติงานในระดับตติยภูมิ มีการรับรู้สมรรถนะ การพัฒนาภาคีเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพสูงกว่าผู้ที่ ปฏิบัติงานในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิตามลำดับ มีการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพด้านการปรับระบบ บริการสุขภาพสูงกว่าผู้ที่ปฏิบัติงานในระดับทุติยภูมิและ ตติยภูมิ และมีการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลสูงกว่าผู้ที่ปฏิบัติงานใน ระดับตติยภูมิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้ให้ ข้อเสนอแนะว่าพยาบาลวิชาชีพควรพัฒนาสมรรถนะและ บทบาทของตนเองสำหรับการปฏิบัติงานในสถานบริการ สุขภาพในแต่ละระดับเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและดูแล สุขภาพของประชาชน           This survey research aimed to follow-up evaluation the competency and nursing role performance for health promotion of professional nurses in the eastern region of Thailand. A simple random sampling was used to recruit a sample of 310 professional nurses who worked in the six Nursing Innovative Learning Centers for Health Promotion of 7 provinces in the east. Data collection was carried out from April to May, 2017 Research instruments consisted of questionnaires of the health promotion competency questionnaire and the health promotion practice based on Ottawa Charter with their Cronbach alpha’sreliability were .98 and .97, respectively. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and one-way ANOVA.          The results revealed that participants perceived that their health promotion competency were at the expert level. Professional nurses who worked at the primary care level had significantly higher management in health promotion competency than those at the tertiary care level, higher health promotion network development competency than those at the secondary and the tertiary care levels, higher reorienting health services role than those at the secondary and the tertiary care levels, and higher developing personal skills role than those at the tertiary care level. These findings suggest that professional nurses should improve their competency and roles of health promotion in a variety of health care levels in order to improve health promotion and nursing care for clients.

Downloads