ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้านการออกกำลังกาย ด้วยวิธีรำวงย้อนยุคต่อระดับน้ำตาลในเลือดและสมรรถภาพทางกาย ในกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวานชนิดที่ 2

Authors

  • ณัฐชนน ผุยนวล
  • นิสากร กรุงไกรเพชร
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล

Keywords:

โปรแกรมการกำกับตนเอง, รำวงย้อนยุค, กลุ่มผู้เสี่ยงสูง, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, ระดับน้ำตาลในเลือด, สมรรถภาพทางกาย

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเอง ด้านการออกกำลังกายด้วยวิธีรำวงย้อนยุค ต่อระดับน้ำตาล ในเลือดและสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้เสี่ยงสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองด้านการออกกำลังกายด้วยวิธีรำวงย้อนยุค 8 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบที สถิติวิลคอกซัน และสถิติแมนวิทนีย์ ยู          ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างระดับน้ำตาลในเลือด (t = 2.00, p < .05) เส้นรอบเอว (t = 5.23, p < .001) เปอร์เซ็นต์ไขมัน (t = 2.71, p < .01) ความดันโลหิตตัวบน (z = -1.68 p < .05) ลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทิี่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยผลต่างความจุปอดเพิ่มขึ้นมากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.97, p < .01) แต่ค่าเฉลี่ยผลต่างความดันโลหิต ตัวล่างลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ (z = -.88, p > .05) ผลการศึกษาครั้งนี้พยาบาลชมุชน สามารถนำไปประยกุต์ใช้กับกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในชุมชนโดยเพิ่มความรู้เรื่องการกำกับตนเองด้านการรับประทานอาหาร          This quasi-experimental two-groups pretest-posttest design aimed to examine effects of self-regulation program in a retro-line dancing exercise on blood sugar level and physical fitness of high risk persons with type 2 Diabetes Mellitus (T2DM). A multi-stage random sampling was used to recruit a sample of 55 participants divided 2 groups of the experimental and the comparison with 25 and 30 people for each group. Participants in the experimental group received the self-regulation program in a retro-line dancing for 8 weeks while the comparison group received usual care. Data were collected by using blood sugar testing, physical fitness measurement. Data analysis included descriptive statistic, t-test, Wilcoxon sign ranks test, Mann Whitney U test.          The results revealed that after receiving the program, participants in the experimental group had decreased mean difference in blood sugar level (t = 2.00, p < .05), waist circumference (t = 5.23, p < .001), fat percentage (t = 2.71, p < .01), systolic blood pressure (z = -1.68, p < .05) significantly higher than those in the comparison group. Moreover, the experimental group had increase mean difference in lung capacity significantly higher the comparison group (t = 2.97, p < .01) but the mean difference score of diastolic blood pressure were decreased not significantly higher than the other (z = -.88, p > .05). The result can be applied in high risk person with diabetes mellitus type 2 by strengthening self-regulation on eating behavior.

Downloads