ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพ ทางอินเตอร์เน็ตของหญิงตั้งครรภ์

Authors

  • สาวิตรี จันทร์กระจ่าง
  • ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
  • วรรณทนา ศุภสีมานนท์

Keywords:

พฤติกรรม, ข้อมูลด้านสุขภาพ, ความต้องการข้อมูล, ด้านสุขภาพ, อุปสรรคในการแสวงหา, หญิงตั้งครรภ์

Abstract

          การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพ ทางอินเตอร์เน็ตของหญิงตั้งครรภ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบสะดวกจำนวน 120 ราย โดยวิธีการประชาสัมพันธ์ จากหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาล เอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูล เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความต้องการข้อมูลด้านสุขภาพ แบบสอบถามอุปสรรคในการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการแสวงหา ข้อมูลด้านสุขภาพทางอินเตอร์เน็ต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.90, .86, และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิงชั้น          ผลการศึกษาพบว่า ความต้องการข้อมูลด้านสุขภาพ และอุปสรรคในการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพสามารถ ร่วมทำนายพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพได้ ร้อยละ 48.2 (R2 = .482, F(2,117) = 54.42, p < .001) เมื่อเพิ่มปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ อายุครรภ์ ลำดับที่ของการตั้งครรภ์ และภาวะสุขภาพ สามารถร่วมกันทำนาย พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.6 (R2 = .528, F(6,113) = 21.10, p < .001) ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพควรประเมิน ความต้องการข้อมูลด้านสุขภาพ และอุปสรรคในการ แสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลและลดอุปสรรคในการแสวงหาข้อมูล ด้านสุขภาพทางอินเตอร์เน็ตของหญิงตั้งครรภ์          This study aimed to examine factors predicting health information seeking behaviors using the internet among pregnant women. A convenience sampling technique was used to recruit a sample of 120 pregnant women who received antenatal care at a private hospital, Bangkok. Data were carried out in May 2018. Research instruments included a demographic record, the Pregnancy Health Information Need scale, the Pregnancy Health Information Barriers scale, and the Pregnancy Health Information Seeking Behavior scale. Their reliability were .90, .86, and .79, respectively. Descriptive statistics and hierarchical multiple regression analysis were used to analyze the data.          The result found that health information needs and barriers together accounted for 48.2% of variance prediction (R2 = .482, F(2,117) = 54.42, p < .001) of health information seeking behaviors. After adding age, gestational age, gravidity, and health condition in the second model, the prediction increased 4.6% (R2 = .528, F(6,113) = 21.10, p < .001). These findings suggest that nurses and related health care providers should focus on health information needs and assess health information barriers of pregnant women to create the database that respond to the information needs of pregnant women and manage the barriers of health seeking information using the internet.

Downloads