ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองและระดับฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก

Authors

  • ธีราภรณ์ บุณยประภาพันธ์
  • ศิริวรรณ แสงอินทร์
  • สุพิศ ศิริอรุณรัตน์

Keywords:

โปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ระดับฮีมาโตคริต, ภาวะโลหิตจาง, การขาดธาตุเหล็ก, หญิงตั้งครรภ์

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงคเ์พื่อศึกษาผลของโปรแกรม การสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวก จำนวน 48 ราย กลุ่มทดลองจำนวน 24 ราย ได้รับโปรแกรม การสนับสนุนและให้ความรู้ร่วมกับการพยาบาลตามปกติ ส่วนที่เหลือเป็นกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถาม พฤติกรรมการดูแลตนเอง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการทดสอบที          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีระดับฮีมาโตคริตสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลแผนกฝากครรภ์สามารถนำ โปรแกรมนี้ไปใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก เพื่อให้หญิงเหล่านี้มีพฤติกรรม การดูแลตนเองและค่าฮีมาโตคริตที่เหมาะสม           This 2-group pretest-posttest quasi- experimental study aimed to determine effects of the educative supportive program on self-care behavior and hematocrit level among pregnant women with iron deficiency anemia. A convenience sampling was used to recruit a sample of 48 pregnant women with iron deficiency anemia, who attended the antenatal care clinic at a district hospital in Nakhon Ratchasima province. The experimental group of 24 participants received the educative supportive program and the routine antenatal care while the rest of control group received only the routine antenatal care. Research instruments for data collection included a demographic questionnaire and the self-care behavior for prevention of iron deficiency anemia questionnaire with its reliability of .78. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test.          The results revealed that after completion of the intervention, participants in the experimental group had mean score of self-care behaviors significantly higher than before the intervention, and higher than those in the control group. The participants in the experimental group also had hematocrit level significantly higher than before the intervention, and higher than those in the control group. These findings suggest that nurses who work at antenatal clinics could utilize this program for pregnant women with iron deficiency anemia. Consequently, these women would have appropriate self-care behavior and hematocrit level.

Downloads