ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความมีคุณค่าในตนเองต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ตำบลบ่อพลอย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

Authors

  • อารี พุ่มประไวทย์
  • บรรจง เจนจัดการ
  • ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์
  • อัญชลี เหมชะญาติ
  • ณัฐฐพัชร์ จันทร์ฉาย

Keywords:

โปรแกรมการสร้างเสริมความมีคุณค่าในตนเอง, ผู้สูงอายุ, ภาวะซึมเศร้า

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อน-หลัง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม การสร้างเสริมความมีคุณค่าในตนเองต่อภาวะซึมเศร้าของ ผู้สูงอายุในตำบลบ่อพลอย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่มีคะแนนภาวะซึมเศร้าตามแบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9Q ของกรมสุขภาพจิตในระดับเล็กน้อย และไม่มีโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง และหัวใจ จำนวน 45 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ.2561 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรม การสร้างเสริมความมีคุณค่าในตนเอง ใช้ระยะเวลา ดำเนินการ 24 สัปดาห์ ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 3 ชั่วโมง 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9Q ของกรมสุขภาพจิต การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบทีแบบไม่อิสระจากกัน          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรม การสร้างเสริมความมีคุณค่าในตนเองผู้สูงอายุ มีคะแนน ภาวะซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสร้างเสริมความมีคุณค่าในตนเองมีประสิทธิภาพสามารถลดภาวะซึมเศร้าได้ พยาบาลควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้เพื่อการป้องกันหรือแก้ไข ปัญหาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน           This one group pre-posttest quasiexperimental research aimed to study the effectiveness of a Self- Esteem Promoting Program on depression of the elderly, residing in Borploy subdistrict, Samkok district, Pathumthani Province. A purposive sampling was used to recruit 45 research participants who were 60 years or older, had mild depression as measured by 9Q depression scale, and had no chronic disease including cancer, diabetes mellitus, hypertension, stroke and heart disease. Data collection was carried out from July to December 2018. Research instruments included 1) the Self- Esteem Promoting Program was continued for 24 weeks and it was a 2-day-sessions per week, and took 3 hours per day, and 2) The 9Q Depression Scale. Data were analyzed by paired t-test.          The results revealed that after receiving the program, the sample had statistically significant lower of depressive score than before experiment (p<.01). These findings indicate that this Self Esteem Promoting Program can reduce depression among the elderly. Nurses should apply this program to prevent or reduce depression for the elderly in the community.

Downloads