เครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิตการทำงานที่ใช้ในบริบทคนทำงานไทย : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบแบบมีขอบเขต
Keywords:
เครื่องมือวิจัย, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ประเมินคุณภาพชีวิตAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ลักษณะของเครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิตการทำงานที่ใช้ในบริบทคนทำงานไทยในรอบ 10 ปี บทความ วิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูล ThaiJo, PubMed, CINAHL, ProQuest Health and Medical complete และ Science direct ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2559 คัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดและสกัดข้อมูลโดยผู้เขียนสองคนแยกกัน แล้วนำมาวิเคราะห์แนวคิดที่ใช้ในการพัฒนามิติในการวัด การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ และผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้เครื่องมือ ผลการทบทวน พบว่าจากบทความวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานในบริบท คนทำงานไทยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลของไทย และฐานข้อมูลต่างประเทศ จำนวน 1,105 บทความ มีเพียง 27 บทความที่สามารถนำมาสกัดข้อมูลเพื่อทำการทบทวนวรรณกรรม ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (ร้อยละ 85.2) ศึกษาในกลุ่มบุคลากรสุขภาพมากที่สุด (ร้อยละ 51.9) แนวคิดที่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาเครื่องมือมากที่สุด ได้แก่ แนวคิดของวอลตัน (ร้อยละ 74) แต่พบว่ามีความแตกต่างกันในประเด็นมิติในการวัด ได้แก่ การเลือกองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานและจำนวนข้อคำถาม การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือมีการตรวจสอบทั้งความตรงและความเชื่อมั่น แต่พบว่ากระบวนการตรวจสอบคุณภาพส่วนใหญ่ยังไม่ชัดเจน ผล จากการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่านักวิจัยยังคงต้องเลือกหรือพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นในการประเมินคุณภาพชีวิตการทำงาน The purpose of this study was to gather and analyze characteristics of the research instruments that have been used to assess the quality of working life within the Thai workforce context in the past decade. A database search was performed in ThaiJo, PubMed, CINAHL, ProQuest Health and Medical complete and Science direct from 2007 to 2015. Studies both in Thai and English languages were recruited and extracted based on the inclusion criteria. Two reviewers independently performed the final selection. Concepts used in developing the tools, dimensions of measurement, tool quality characteristics, and results yield were analyzed. There were 1,105 research articles on quality of working life in the Thai workforce context that have been published in Thai and international databases. Only 27 articles were eligible and used for this scoping review. Most of them were descriptive studies (85.2%). About one half focused on health care workers (51.9%). The most used concept in tool development was Walton’s (74%). However, the difference within each study was the dimensions of measurement including number of dimensions and items. Although most of the instruments had been tested for both validity and reliability, the process of instrument testing was not clearly stated. The findings of this study suggest that the researchers would have to further select or develop suitable instrument to measure quality of work life.Downloads
Issue
Section
Articles