ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดในหญิงตั้งครรภ์แรก

Authors

  • สุรวดี คัทสิงห์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • สุพิศ ศิริอรุณรัตน์

Keywords:

การรับรู้, สมรรถนะ, การคลอด, หญิงตั้งครรภ์

Abstract

          การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดในหญิงตั้งครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ หญิงตั้งครรภ์แรก ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 120 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการคลอด แบบสอบถาม ทัศนคติเกี่ยวกับการคลอด และแบบสอบถามความเชื่อมั่นในตนเองขณะคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยโดยใช้สถิติพรรณนา และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน          ผลการวิจัยพบว่า การศึกษา รายได้ของครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับการคลอด และทัศนคติเกี่ยวกับการคลอดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (r = .223, r = .228, r = .23, r = .256 ตามลำดับ) ส่วนอายุไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.007) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลในแผนกฝากครรภ์ควรมีการประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการรับรู้ดังกล่าวในหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนจัดทำโปรแกรม หรือพัฒนาแนวทางและสื่อการสอนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการคลอด และเสริมสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการคลอดด้วยตนเองแก่หญิงตั้งครรภ์ รวมถึงกระบวนการเตรียมตัวคลอด เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความมั่นใจ และมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดด้วยตนเองที่ดี           The objective of this descript study was to examine factors related to perceived childbirth self-Efficacy among primiparous pregnant women. Research participants were 120 first-time pregnant women attending ante natal care clinic at Phaholpolpayuhasena hospital, Kanchanaburi province. They were recruited in the study by simple random sampling. Data   were collected by using questionnaires of including Personal record form, Knowledge of Childbirth Questionnaire, Attitude towards Childbirth Questionnaire, and Thai Version of Childbirth Self-efficacy Inventory. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson product moment correlation coefficients.          The results showed that there were statistically significant positive correlations between education (r = .223, p = .014), family income (r = .228, p =.0 12), knowledge of childbirth (r = .23, p = .009), attitude toward childbirth (r = .256, p = 005) and perceived childbirth self-efficacy at the alpha level .05. However, age of pregnant women was not significantly related with perceived childbirth self-efficacy at the alpha level .05 (r = -.007, p = .942). These findings suggest that nurses at ante natal care clinic should provide program of interventions such as childbirth education class to provide knowledge about childbirth and enhance positive attitudes towards childbirth to pregnant women which will help to increase perceived childbirth self-efficacy among pregnant women.

Downloads