การพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา

Authors

  • กนก พานทอง
  • ภัทราวดี มากมี
  • ปริญญา เรืองทิพย์
  • ประวิทย์ ทองไชย
  • ปิยะทิพย์ ประดุจพรม

Keywords:

ทักษะชีวิต, โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต, อาชีวศึกษา

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษา โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มจากผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง 128 คน เชิงปริมาณจากกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา 2,869 คน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะชีวิต CCS ของนักศึกษาอาชีวศึกษา แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะชีวิต CCS ของนักศึกษาอาชีวศึกษา แบบประเมินทักษะชีวิต CCS โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต CSS วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณา ประเมินความต้องการจำเป็น และสถิติทดสอบค่าที          ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ และต้องการให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมด้านการประเมินผลสูงสุด ส่วนนักเรียน/นักศึกษามีความต้องการจำเป็นให้พัฒนาทักษะชีวิตด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงสุด เกณฑ์ประเมินทักษะชีวิต CCS แบ่งเป็น ระดับดีมาก ดี และพอใช้ โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต CCS ที่พัฒนาขึ้น ออกแบบให้เน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมทักษะการคิด ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างมีความสุข ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ตลอดเวลา 10 กิจกรรม ผลการประเมินมีความเหมาะสมมากที่สุด (M=4.51) ค่าเฉลี่ยคะแนน CCS กลุ่มทดลอง หลังใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตฯ สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังทดลองกลุ่มใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนน CCS สูงกว่ากลุ่มไม่ใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจโปรแกรมฝึกทักษะชีวิตฯ โดยรวมในระดับมากขึ้นไป           This study aimed at developing the Critical Cognitive Skills (CCS) in vocational students. The qualitative data were conducted by the in-depth interview and focus group from 128 participants involving administrators and related personnel and the quantitative data were collected from 2,869 vocational students in schools under the office of the vocational education commission. These vocational students were selected by the multistage sampling technique. The research instruments were a need assessment questionnaire of the CCS of vocational students, a structured interview on CCS participation development of vocational students, the CSS life skill assessment, and a CSS life skill training program. Data were analyzed by using content analysis for the qualitative data and by descriptive statistics, a need assessment evaluation, and t-test for the quantitative data.          The results revealed that the administrators and related personnel involved in developing the CSS life skill and needed the related personnel involved in the CSS life skill assessment the most. Whereas students needed the CSS life skill the most. The criteria of the CSS life skill could be divided into excellent, good, and fair levels. The developed CSS life skill training program was designed to focus on learners in terms of encouraging thinking skill, practice, and happy learning, asking, and sharing opinions throughout ten activities. The developed CSS life skill training program was suitable to be used with vocational students at the highest level (M=4.51). After training, the CSS life skill scores in experimental group were significantly higher than before the experiment at the .05 level and the experimental group exhibited a higher mean score in the CSS life skill when compared to the control group at the .05 level. Vocational students were generally satisfied to the CSS life skill training program from the high levels to the highest levels.

Downloads