ผลของความแตกต่างระหว่างเพศและบุคลิกภาพที่มีต่อรูปภาพและเสียงดิจิตอลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

Authors

  • สุทิศา ตันติกุลวิจิตร
  • เสรี ชัดแช้ม
  • ภัทรวดี มากมี
  • ศราวิน เทพสถิตภรณ์

Keywords:

อารมณ์ด้านการตื่นตัว, บุคลิกภาพ, บุคลิกภาพแบบกลาง ๆ คลื่นไฟฟ้าสมอง

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการทดลองมองรูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น ศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ ขณะมองรูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว จำแนกตามเพศและบุคลิกภาพกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มเพศชายและเพศหญิงที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผย กลุ่มละ 20 คน และกลุ่มเพศชายและเพศหญิงที่มีบุคลิกภาพแบบกลาง ๆ กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมการทดลองมองรูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ two-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า          1. กิจกรรมการทดลองมองรูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบ ด้วย กิจกรรม 2 ชุด ชุดละ 12 สิ่งเร้า สิ่งเร้าละ 14.5 วินาที จำแนกตามลักษณะอารมณ์ คือ ลักษณะสงบและลักษณะตื่นเต้น          2. คลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้น ขณะมองรูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวลักษณะตื่นเต้น พบความแตกต่างทางเพศมีผลที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง FP1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และลักษณะสงบพบความแตกต่างทางบุคลิกภาพมีผลที่บริเวณสมองกลีบท้ายทอย (Occipital Lobe) ที่ตำแหน่ง PO3 และบริเวณสมองกลีบขมับ (Temporal Lobe) ที่ตำแหน่ง P8            The purposes of this research were to design experimental activities of looking at pictures and listening to digitized sounds which stimulated emotional arousal in young adults and to study the emotional arousal, event-related potential studies between gender and personality of the participants while looking at pictures and listening to digitized sounds. The research participants were 80 students at Burapha University in the academic year 2017, divided into 20 male and 20 female of extravert personality and 20 male and 20 female of ambivert personality. The research instruments consisted of the activities of looking at pictures and listening to digitized sounds which stimulated emotional arousal, and Neuro Scan System. The data were analyzed by two-way ANOVA. The research results were as follows:            1. The activities of looking at pictures and listening to digitized sounds consisted of 2 blocks; each block of 12 stimuli; each stimuli of 14.5 second which were calm and excite emotions.            2. The brainwaves in young adults while looking at pictures and listening to digitized sounds which stimulated emotional arousal: There were significant differences personality in Occipital Lobe at position PO3, and Temporal Lobe at position P8, and differences gender in Frontal Lobe at position FP1 with statistically significant at .05 level.

Downloads