ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิดภายหลังคลอดในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก
Keywords:
ความรู้, ทัศนคติ, อิทธิพล, บุคคลสำคัญ, ยาฝังคุมกำเนิด, มารดาวัยรุ่น, วัยรุ่นครรภ์แรกAbstract
การวิจัยแบบมีกลุ่มควบคุมครั้งนี้เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับยาฝังคุมกำเนิด ทัศนคติต่อยาฝังคุมกำเนิด การวางแผนมีบุตร และอิทธิพลของบุคคลสำคัญต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิดภายหลังคลอดในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรกที่พักฟื้นแผนกหลังคลอดหรือมารับบริการแผนกวางแผนครอบครัว ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และโรงพยาบาลบางละมุง จำนวน 134 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้ยาฝังคุมกำเนิดหลังคลอด แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับยาฝังคุมกำเนิด แบบสอบถามทัศนคติต่อยาฝังคุมกำเนิด และแบบสอบถามอิทธิพลของบุคคลสำคัญต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิด ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .73, .83, .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิดภายหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อิทธิพลของบุคคลสำคัญ (AOR = 1.11, 95% CI = 1.05-1.17) โดยกลุ่มตัวอย่างที่บุคคลสำคัญสนับสนุนให้ใช้ยาฝังคุมกำเนิดมากจะมีการใช้ยาฝังคุมกำเนิดเป็น 1.11 เท่า ของกลุ่มตัวอย่างที่บุคคลสำคัญสนับสนุนให้ใช้ยาฝังคุมกำเนิดน้อย ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์และบุคลากรด้านสุขภาพในหน่วยงานแผนกหลังคลอดและวางแผนครอบครัว ควรส่งเสริมให้บุคคลที่มีความสำคัญต่อมารดาวัยรุ่นมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่มารดาวัยรุ่น เพื่อให้มารดาวัยรุ่นมีการใช้ยาฝังคุมกำเนิดหลังคลอดและป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำที่อาจเกิดขึ้นได้ This Case - control study research aimed to determine the influencing of knowledge of contraceptive implants, attitude toward contraceptive implants, family planning, and the influence of significant person to primiparous adolescent mothers. The research participants were 134 primiparous adolescent mothers who were admitted at postpartum ward or who visited family planning department at Banglamung hospital and Queen Savang Vadhana Memorial hospital. They were recruited in the study by using convenience sampling technique. The research instruments were personal information and postpartum contraceptive implants record forms, knowledge on contraceptive implants questionnaire, attitude toward contraceptive implants questionnaire, and the influence of significant persons toward contraceptive implants use questionnaires. Reliability of questionnaires were .73, .83, .91 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and logistic regression analysis. The results revealed that the factor influencing the use of postpartum contraceptive implants was the influence of significant persons (AOR = 1.11, 95% CI = 1.05-1.17) indicating that participants with high influences of significant persons were 1.11 times more likely to use contraceptive implants than those with low influence of significant persons. Finding of this study suggested that nurses and midwives at postpartum units and family planning clinic should include significant persons of adolescent mothers to participate in postpartum contraceptive counselling. It might encourage to increase the use of postpartum contraceptive implants and prevent repeated rapid pregnancies among adolescent mothers.Downloads
Issue
Section
Articles