ผลของการใช้หุ่นนิ้วมือหรรษาประกอบการเล่านิทานต่อความกลัว การพ่นยาฝอยละอองในเด็กวัยก่อน เรียน

Authors

  • กิตติมา ทรงวัฒนา
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
  • นุจรี ไชยมงคล

Keywords:

หุ่นนิ้วมือหรรษา, การเล่านิทาน, ความกลัว, การพ่นยา, พ่นยาแบบฝอยละออง

Abstract

          การพ่นยาฝอยละอองเป็นหัตถการที่พบได้บ่อยในเด็กวัยก่อนเรียน การช่วยลดความกลัวของเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลภายหลังการทดลองครั้งเดียว เพื่อศึกษาผลของการใช้หุ่นนิ้วมือหรรษาประกอบการเล่านิทานต่อความกลัวการพ่นยาฝอยละอองในเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยก่อนเรียนที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและเข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี จำนวน 30 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกเพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 กลุ่มทดลองได้รับการใช้หุ่นนิ้วมือหรรษาประกอบการเล่านิทาน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบสังเกตพฤติกรรมความกลัว ของเด็กป่วยวัยก่อนเรียน ที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละออง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบค่าที          ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความกลัวของเด็กป่วยวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละออง ภายหลังสิ้นสุดการทดลองในกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้หุ่นนิ้วมือหรรษาประกอบการเล่านิทาน ในเด็กป่วยวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละอองนี้มีประสิทธิภาพโดยช่วยลดความกลัวของเด็กจากการได้รับการพ่นยาฝอยละออง พยาบาลสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยลดความกลัวของเด็ก ทำให้สามารถพ่นยาแบบฝอยละอองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น            The aerosol therapy is a common procedure in preschool children, Reducing children’s fears is important. This quasi-experimental research was the two-group posttest-only design which aimed to examine effect of funny finger puppets with storytelling on fear of aerosol therapy in preschool children. The sample included 30 preschool children with respiratory tract infection admitted in Pediatric Unit, Prapokklao Hospital, Chanthaburi Province. Samples were convenience sampling sample was used to assign eligible participants to either the experimental and control groups which were 15 equally. Data were collected from June to August, 2018. The experimental group received of funny fingerpuppets with storytelling, whereas the control group received usual nursing care. Research instruments consisted of the general information questionnaire and the observation scale for aerosol therapy fear behavior about fear behavior of aerosol therapy in preschool children. The Cronbach, s alpha was .87. Data were analyzed by descriptive statistics independence t-test.          The results reveals that mean score of fear behavior in preschool children in the experimental group was significantly lower than those of the control group (p < .001). Findings identify that the funny finger puppets with storytelling in preschool children who received aerosol therapy was effective by reducing the fear of aerosol therapy in children. Nurses should apply the funny finger puppets with storytelling to reduce fear of preschool children in order to increase the effectiveness of aerosol therapy.

Downloads