ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากลำบากในการปรับตัวของมารดาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาล ทารกแรกเกิดสู่บ้าน
Keywords:
ทารก, ความเสี่ยงสูง, ความยากลำบาก, การปรับตัว, มารดา, สัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยากลำบาก ในการปรับตัวของมารดาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้านและปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกที่มีความเสี่ยงสูงที่ทารกเข้ารับการรักษา และจำหน่ายจากหออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ จำนวน 84 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของมารดา และทารก แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก แบบสอบถามความพร้อมของมารดาในการจำหน่ายทารกกลับบ้าน แบบสัมภาษณ์ปัญหาในการดูแลทารกของมารดา แบบบันทึกการเจ็บป่วยและการเจริญเติบโตของทารก แบบสัมภาษณ์ข้อมูลการดูแลทารกของมารดาและแบบสอบถามความยากลำบากในการปรับตัวของมารดา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า ความยากลำบากในการปรับตัวของมารดาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้านโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 35.22, S.D. = 21.56) ปัจจัยรายได้ของครอบครัว ความพร้อมของมารดาในการจำหน่ายทารกกลับบ้าน และสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกมีความสัมพันธ์ทางลบกับความยากลำบาก ในการปรับตัวของมารดาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.329, r = -.538, r = -.489; p < .05 ตามลำดับ) ส่วนอายุของมารดาไม่มีความ สัมพันธ์กับความยากลำบากในการปรับตัวของมารดาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้าน (p > .05) ผลการศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลควรประเมินและเตรียมความพร้อมมารดาก่อนจำหน่ายทารกกลับบ้านและส่งเสริมการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมารดาและทารก โดยเฉพาะกลุ่มที่มารดามีรายได้ครอบครัวน้อย This study explored the coping difficulty in mothers during the transition period from the Neonatal Intensive Care Unit to home along with potentially related factors. The sample was 84 mothers having high-risk infants receiving treatments and discharging from the Neonatal Intensive Care Unit of Bhumibol Adulyadej Hospital under the Royal Thai Air Force Directorate of Medical Services. The demographic data record form for mothers and Infants, Maternal Infant Attachment Questionnaire, the Readiness for Hospital Discharge Scale, Interview questionnaire for problems of mother’s care for infant, infant illnesses and data about mothers’ infant care and Post-discharge Coping Difficulty Scale were the instruments used to collect data. Data analysis was conducted using descriptive statistics and Spearman’s rank correlation coefficient. Findings revealed that the mothers had collectively a moderate coping difficulty during the transition period from the Neonatal Intensive Care Unit to home (M = 35.22, S.D. = 21.56). Furthermore, family income, maternal readiness for infant discharge and maternal infant attachment were negatively correlated with the coping difficulty of the mothers during the transition period from the Neonatal Intensive Care Unit to home with statistical significance (r = -.329, r = -.538, r = -.489; p < .05, respectively). Maternal age was not correlated with coping difficulty in the mothers during the transition from the Neonatal Intensive Care Unit to home (p > .05). The findings suggested that nurses should evaluate and prepare mothers before infants discharge and promote attachment between mothers and infants, especially for mothers with low income families.Downloads
Issue
Section
Articles