ผลของการฝึกฝนทางคลินิกในการใช้ระบบการกำหนดข้อวินิจฉัยการจำแนกผลลัพธ์ และการปฏิบัติการพยาบาลต่อคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล

Authors

  • รัชฎาพร สุวรรณรัตน์
  • พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
  • ณัฐนิชา เหลืองอ่อน
  • สุชาดา สมบูรณ์

Keywords:

การฝึกฝนทางคลินิก, กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล, การจำแนกผลลัพธ์, การปฏิบัติการพยาบาล, การบันทึกทางการพยาบาล

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลก่อนและหลังการใช้การฝึกฝนทางคลินิกในการใช้ระบบการกำหนดข้อวินิจฉัย การจำแนกผลลัพธ์ และการปฏิบัติการพยาบาล โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือแฟ้มผู้ป่วย จำนวน 300 แฟ้ม ที่เขียนโดยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในเวรเช้า โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 53 คน พยาบาลได้รับการทดลองด้วยการฝึกฝนทางคลินิกและการทบทวนการใช้กระบวนการพยาบาลที่ให้ข้อมูลย้อนกลับจากผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบตรวจสอบข้อมูลการบันทึก ทางการพยาบาลและแบบประเมินคุณภาพของสาระและภาษาของการบันทึกทางการพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการกำหนดข้อวินิจฉัย การจำแนกผลลัพธ์และการปฏิบัติการพยาบาลตามระบบสากล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาและค่าที          ผลการวิจัยพบว่า ระดับคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการบันทึกก่อนการทดลองในคะแนนรวมและแต่ละขั้นตอนของกระบวนการพยาบาลอยู่ในระดับต่ำมากเป็นส่วนใหญ่ และหลังทดลองสูงขึ้นเป็นระดับต่ำและปานกลาง และหลังการทดลอง คะแนนคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมและแต่ละขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่าพยาบาลควรได้รับการฝึกฝนทางคลินิกเพิ่มมากขึ้นพร้อมกับการนิเทศทางคลินิกจากหัวหน้าหอผู้ป่วย รวมถึงควรใช้ระบบการกำนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล การจำแนกผลลัพธ์ และการปฏิบัติการพยาบาล ที่เป็นระบบสากล           This quasi-experimental research aimed to study the level and to compare means of overall of nurse’s note quality scores and quality scores in each step of nursing process before and after the clinical coaching in the use of classification system of nursing diagnosis, outcome and intervention. The 300 nurse’s notes had been written by all 53 professional nurses working in the day shift at a small private hospital in Chon-Buri province and received clinical coaching in nursing process and giving quality feedback from the expert in nursing process implementation. Research instruments include reviewing form and evaluation form nurse’s note quality developed by researchers based on concept of the classification of nursing diagnosis, outcome and intervention. Data were analyzed using descriptive statistics and Independent t-test.          Results revealed that before receiving clinical coaching, quality of nurse’s notes in total and each step of nursing process were at very low level and increasing to low and moderate level after receiving clinical coaching. After receiving intervention, mean scores in both total and each step of nursing process were significantly higher than before receiving intervention at .05 level. The results suggested that nurses should continuously receive clinical coaching and clinical nursing supervision from head nurses. Also NANDA-I, NIC and NOC Classification should be implemented.

Downloads