ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลกรุงเทพ ในภาคตะวันออก

Authors

  • นิรมล โตสติ
  • อารีรัตน์ ขำอยู่
  • เขมารดี มาสิงบุญ

Keywords:

การเสริมสร้าง, พลังอำนาจ, ภาวะผู้นำ, การเปลี่ยนแปลง, สภาพแวดล้อม, พยาบาลวิชาชีพ

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมในการทำงาน กับการรับรู้เสริมสร้างพลังอำนาจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจำในโรงพยาบาลกรุงเทพ ภาคตะวันออก จำนวน 84 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แบบสอบถามการประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน และแบบสอบถามการรับรู้การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ที่ .97, .88 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน          ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของการรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าแผนก สภาพแวดล้อมในการทำงาน และการรับรู้การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ในระดับสูง (M = 4.13, SD = 0.57; M = 3.92, SD = 0.46; M = 3.84, SD = 0.66 ตามลำดับ) และพบว่า สภาพแวดล้อมในการทำงาน และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง กับการรับรู้การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลกรุงเทพ ภาคตะวันออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .797, p < .01 และ r = .735, p < .01 ตามลำดับ) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ผู้บริหารทางการพยาบาลควรพัฒนาผู้บริหาร ระดับหัวหน้าแผนกให้มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน รวมถึงการเพิ่มการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานของพยาบาลวิชาชีพ            The purposes of this research were to study the relationship between transformational leadership, job environment, and job empowerment of professional nurses. A multi-stage sample of 84 nurses in Bangkok hospitals in eastern region participated in study. The research instruments were demographic record form and questionnaires including transformational leadership, job environment, and job empowerment questionnaires. The Cronbach’s alpha coefficients were .97, .88, and .96 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson’s product-moment correlation coefficient.          The research results showed that the overall mean scores of transformational leadership, job environment and job empowerment as perceived by nurses were at a high level (M = 4.13, SD = 0.57; M = 3.92, SD = 0.46; and M = 3.84, SD = 0.66 respectively) and job environment and transformational leadership had high and positive relationships with job empowerment of professional nurses in Bangkok hospitals in eastern region with a significant level of .01 (r = .797 and r = .735 respectively). Nursing administrators could apply this research results to improve personnel development. Nursing administrators should increase their own transformational leadership and provide the job environment to increase professional nurses’ job empowerment and enhance their motivation.

Downloads