ศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์โดยชุมชนเป็นฐาน

Authors

  • อรอนงค์ บัวลา
  • ขนิษฐา นันทบุตร

Keywords:

ศักยภาพ, ชุมชนเป็นฐาน, สร้างเสริมสุขภาพ, สตรีตั้งครรภ์, pregnant woman

Abstract

          การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณาแบบเจาะจงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ ผู้ให้ข้อมูลเป็นสตรีตั้งครรภ์ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์รวม 150 ราย เก็บข้อมูลใช้การสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา          ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ สตรีตั้งครรภ์และคนในชุมชนมีศักยภาพที่จะดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้ กลุ่มองค์กรชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ของชุมชนในระยะตั้งครรภ์ ได้แก่ การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลโดยเฉพาะในรายที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ตั้งครรภ์แรก หรือฐานะยากจน การให้บริการสุขภาพและช่วยเหลือฉุกเฉิน การจัดสภาวะแวดล้อม สนับสนุนการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการจากรัฐและชุมชน กิจกรรมในระยะหลังคลอดและเลี้ยงดูเด็ก ได้แก่ การพัฒนาทักษะสตรีหลังคลอด การให้บริการสุขภาพ การดูแลภาวะสุขภาพตามวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณเพื่อสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพ การทำงานเชื่อมประสานกันในทุกภาคส่วนทำให้เกิดการขับเคลื่อนงานในการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ในชุมชนอย่างครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อนำใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการดูแลสตรีตั้งครรภ์ในชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะยากลำบาก พัฒนาศักยภาพพยาบาลให้มีสมรรถนะบทบาทครอบคลุมตามยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ           This focused ethnography aimed to explore the potential of community-based health promotion for pregnant woman. The participants were pregnant women and those involved in health promotion for pregnant women in the community, a total of 150 people. Data were collected by observation, interviews and group discussions. Content analysis was used for data analysis.          The results reflected the social, economic and health conditions of pregnant women. Pregnant women and people in the community had the potential to learn and take care of their own health and that of family members. Community Organizations and the Local Administrative Organization engaged in health promotion activities for pregnant women in the community. Activities during pregnancy included: developing personal skills, especially in poor mothers, single mothers and those with their first pregnancy; providing health services and emergency assistance services; managing the environment, and; supporting access to rights and welfare from the government and community. Activities in the postpartum period and the child-rearing period; developing maternal skills and culturally-appropriate health services and care were provided, and a budget was allocated for health insurance. The interoperability of all sectors drives the promotion of pregnant women’s health in the community across all dimensions. Recommendations include preparing a strategic plan for the care of pregnant women in the community, especially underprivileged pregnant women, and developing the competency and potential of nurses to better fulfill their roles in accordance with the strategic plan for health promotion.

Downloads

Published

2022-12-15