ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดตรัง

Authors

  • เบญจวรรณ ช่วยแก้ว
  • จันทร์เพ็ญ เลิศวนวัฒนา
  • วรารัตน์ ทิพย์รัตน์

Keywords:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก, พฤติกรรม, การป้องกัน, โรคฟันผุ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, จังหวัดตรัง

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตเทศบาลนครตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำนวน 42 คน จับฉลากเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีจับคู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 2 สัปดาห์ ๆ ละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภายหลังการได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลอนามัยโรงเรียน ครูประจำชั้นและผู้อำนวยการโรงเรียนในเขตเทศบาลนครตรัง ควรนำโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากไปใช้เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง              This quasi-experimental research aimed to examine the effect of an oral hygiene promotion program on dental caries prevention behavior among primary school students. The sample was 42 sixth grade students in the municipality school in Trang province. The random sample with matched-pair technique was used to divide the sample into experimental and control groups, with 21 students per group. The experimental group received an oral hygiene promotion program for two weeks (60 minutes per week), while the control group received routine care. Data were collected by using a demographic record form and a dental caries prevention behavior questionnaire. The Cronbach Alpha Coefficient of the questionnaires was .86. The data were analyzed by descriptive statistics and t-tests.            The results showed that the experimental group, after receiving the oral health promotion program, had mean scores of dental caries prevention behaviors significantly higher than before receiving the program (p < .05) and significantly higher than in control group (p < .05). These findings suggest that primary school health nurses, principals and teachers should continue implementing the program to reduce dental caries and should make the program available for all students.

Downloads

Published

2022-12-15