ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
การปฏิบัติงาน, ผู้ดูแล, การอบรม, การดูแลผู้สูงอายุ, ภาวะพึ่งพิงAbstract
การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในปี 2559 จำนวน 182 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนเมษายน 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามด้านทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และแบบสอบถามด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) แบบสอบถามปัจจัยสถานการณ์ ประกอบด้วย แบบสอบถามด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงานและแบบสอบถามปัจจัยด้านองค์การและสังคม 3) แบบสอบถามการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .73, .77, .88, .86 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.9, SD = 0.5) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติ งานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ประสบการณ์ ทัศนคติ แรงจูงใจ วิธีการทำงาน เครื่องมือเครื่องใช้ สถานที่ในการทำงาน นโยบายของหน่วยงาน การฝึกอบรม ผลตอบแทน สัมพันธภาพในหน่วยงาน และสภาพแวดล้อมทางสังคม โดยพบว่า เครื่องมือเครื่องใช้ แรงจูงใจ ประสบการณ์ และผลตอบแทน เป็นตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 37 ผลการศึกษาเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรสนับสนุนด้านเครื่องมือ เครื่องใช้สร้างแรงจูงใจ และผลตอบแทนที่เหมาะสม รวมถึงการพิจารณาระบบพี่เลี้ยงให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมาก่อนปฏิบัติงานร่วมกับผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ This research was designed to examine factors related to job performance among trained caregivers caring for dependent elderly in Bangkok. In 2016, 182 such caregivers were selected through proportionate multi-stage sampling. Data were collected from February to April 2019 using three types of self–administered questionnaires: 1) personal data questionnaires including individual factors, attitude and motivation; 2) situational factor questionnaires covering work environments and organizational and social factors, and; 3) a questionnaire measuring job performance of trained caregivers of caring-dependent elderly. Cronbach’s alphas for the questionnaires were .73, .77, .88, .86 and .94, respectively. Data were analysed using descriptive statistics and stepwise multiple regression. The results showed that job performance among trained caregivers of caring-dependent elderly in Bangkok was at a moderate level (average = 3.9, SD = 0.5). Several individual variables: age, caregivers’ experience caring for dependent elderly, attitude of the elderly care recipient, motivation of the elderly care recipient, method of work, equipment, workplace, policy of organization, training, job reward, co-worker relationships and social environment had statistically significant correlations with job performance of trained caregivers of dependent elderly in Bangkok. Factors significantly predicting job performance among these caregivers were equipment, attitude of care-dependent elderly, caregivers’ experience, and job reward. These predictors together explained 37 percent of the variance in caregivers’ job performance. The findings suggest that public health administrators should be encouraged to develop job performance among trained caregivers of care-dependent elderly by supporting well-functioning equipment, motivating trained caregivers to work, supporting job rewards, and considering a mentoring system to encourage trained caregivers who have experience with care-dependent elderly to mentor trained caregivers who do not have such experience.Downloads
Issue
Section
Articles