ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการให้นมแม่แก่ทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดามุสลิม

Authors

  • พงค์สุวรรณ สมาแฮ
  • ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
  • นฤมล ธีระรังสิกุล

Keywords:

ความตั้งใจ, การให้นมแม่, ทารกเกิดก่อนกำหนด, มารดามุสลิม

Abstract

          การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความตั้งใจในการให้นมแม่แก่ทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดามุสลิม กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดามุสลิมหลังคลอด 3 ถึง 7 วันที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์ น้อยกว่า 37 สัปดาห์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 74 ราย เข้ารับการรักษาที่หออภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤต และหออภิบาลทารกแรกเกิดป่วย ในโรงพยาบาลปัตตานี และโรงพยาบาลยะลา เก็บข้อมูลในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเจตคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มผู้ใกล้ชิดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และแบบสอบถามความตั้งใจในการให้นมแม่ ความเชื่อมั่นของแอลฟ่าครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ .93, .94, .89 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน        ผลการวิจัย พบว่า การคล้อยตามกลุ่มผู้ใกล้ชิดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นตัวแปรเพียงตัวเดียวที่สามารถทำนายความตั้งใจในการให้นมแม่ได้ร้อยละ 30.2 (R2 = .302, F (1, 74) = 31.18, p < .001) ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า การส่งเสริมการให้นมแม่แก่ทารกเกิดก่อนกำหนด ควรเพิ่มการสนับสนุนจากกลุ่มผู้ใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมความตั้งใจของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่           This predictive research aimed to examine predictors of Muslim mothers’ intention to breastfeed preterm infants. The sample was Muslim mothers who had given birth with a gestational age less than 37 weeks. Seventy-four participants were recruited by purposive sampling from the Neonatal Intensive Care Unit and Nursery Unit in Pattani Hospital and Yala Hospital. Data were collected in June 2020. The research instruments consisted of attitude toward breastfeeding questionnaire, subjective norm for breastfeeding questionnaire, perceived self-efficacy for breastfeeding questionnaire and intention for breastfeeding questionnaire. Cronbach’s alpha reliability scores were .93, .94, .89 and .82 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression.         The results revealed that subjective norm for breastfeeding accounted for 30.2% of the variance for Muslim mothers’ intention to breastfeed their preterm infants (R2 = .302, F (1, 74) = 31.18, p <.001). This finding suggests that an intervention to promote preterm breastfeeding should emphasize promoting a subjective norm to support breastfeeding intention among mothers.

Downloads