ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในนักศึกษาพยาบาล

Authors

  • ฉวีรัตน์ ชื่นชมกุล
  • อาภา หวังสุขไพศาล

Keywords:

การปฏิบัติการพยาบาล, ความปลอดภัยของผู้ป่วย, นักศึกษาพยาบาล, ผู้ป่วย

Abstract

        การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะของตนเองด้านการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย แบบประเมินทัศนคติต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ       ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นปีที่กำลังศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติการพยาบาล การรับรู้สมรรถนะตนเองด้านการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และทัศนคติต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยสามารถร่วมทำนายการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ร้อยละ 20.60 โดยปัจจัยด้านการรับรู้สมรรถนะตนเองด้านการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ระดับชั้นปี และทัศนคติต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำนายการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยได้ (b = .318, p < .01, b = -.216, p < .01, b = .188, p < .05 ตามลำดับ) นักศึกษาพยาบาลที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันมีค่าเฉลี่ยคะแนนของการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยคะแนนของการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยสูงกว่าชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยให้เพิ่มมากขึ้น โดยการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะของตนเองด้านการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และทัศนคติต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยให้กับนักศึกษาพยาบาล          The purpose of this descriptive research was to study factors related to the performance of clinical practice for patient safety among nursing students. The sample consisted of 113 third- and fourth-year nursing students recruited by simple random sampling. The research instruments were a personal data record form, the perception of self-efficacy in nursing practice for patient safety evaluation, and the attitude towards patient safety and performance of clinical practice for patient safety evaluation. Data were analyzed by descriptive statistics, independent t-tests, two-way ANOVA, and multiple regression.          The results revealed that level of education, perception of self-efficacy in nursing practice for patient safety, and attitude towards patient safety could significantly explain 20.6% of the variation in clinical practice for patient safety (p < .05). Significant predictors of performance of clinical practice for patient safety were perception of self-efficacy in nursing practice for patient safety (b = .318, p < .01), level of education (b = -.216, p < .01), and attitude towards patient safety (b = .188, p < .05). Difference in learning achievement was significantly related to performance of clinical practice for patient safety (p < .01). The mean scores of performance of clinical practice for patient safety for third-year students was significantly higher than for fourth-year students (p < .05). These results suggest that the improvement of nursing students’ performance of clinical practice for patient safety should place emphasis on strengthening nursing students’ self-efficacy and attitude towards patient safety.

Downloads