ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการสารสนเทศกับการรับรองมาตรฐานของโรงพยาบาล

Authors

  • วัฒนา นนทชิต
  • เบญจ์ พรพลธรรม
  • พลศักดิ์ จิรไกรศิริ
  • อำนวย บุญรัตนไมตรี

Keywords:

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ, โรงพยาบาล, การบริหาร, การรับรองคุณภาพ

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการสารสนเทศของโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานบริการสุขภาพ 2) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินการตามมาตรฐานบริการสุขภาพของโรงพยาบาล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจัดการสารสนเทศกับการดำเนินการตามมาตรฐานบริการสุขภาพ และ 4) เพื่อแสวงหาแนวทางการจัดการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพของโรงพยาบาล            ขอบเขตการวิจัย พื้นที่ศึกษา คือ โรงพยาบาลภาครัฐทุกสังกัด และภาคเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยการถ่ายทอดแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เข้ารับบริการของโรงพยาบาลที่ได้รับรองมาตรฐานบริการสุขภาพจำนวน 60 โรงพยาบาล 1,175 ตัวอย่าง นำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุป และอภิปรายผล โดยวิธีการเชิงปริมาณด้วยสถิติ Canonical Correlation และ Path Analysis ตามตัวแบบสมมติฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ด้วยคำถามเชิงลึก เอกสารราชการ และการสังเกตการณ์มาสนับสนุนข้อค้นพบของการศึกษา            จากการศึกษา พบว่า โรงพยาบาลที่ได้รับรองมาตรฐานบริการสุขภาพในกรุงเทพมหานคร มีการจัดการสารสนเทศในระดับมากทุกด้าน และมีการบริหารงานตามมาตรฐานบริการสุขภาพในระดับมากทุกด้านเช่นกัน โดยเฉพาะด้านการดูแลผู้ป่วยที่ต้องการให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นได้ง่ายเหมาะกับปัญหาสุขภาพความต้องการของผู้ป่วยทันเวลา มีการประสานงานที่ดี ภายใต้ระบบและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล ส่วนระดับรองลงมาคือ ระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล และการจัดการองค์การตามลำดับ            ผลการทดสอบสมมติฐานโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Canonical พบว่า โรงพยาบาลที่ได้รับรองมาตรฐานบริการสุขภาพมีการนำการจัดการสารสนเทศมาสนับสนุนให้เกิดมาตรฐานด้านบริการสุขภาพของโรงพยาลได้จริง และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก โดยเฉพาะการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการระบบสารสนเทศ ที่สามารถดำเนินการเพื่อให้โรงพยาบาลเกิดมาตรฐานบริการสุขภาพโดยเฉพาะด้านมาตรฐานการบริหารองค์การ            จากผลการศึกษาเบื้องต้นนำไปสู่การสร้างตัวแบบการจัดการสารสนเทศของโรงพยาบาลเพื่อการรับรองมาตรฐานโดยเฉพาะโรงพยาบาลควรมุ่งเน้นหลักการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการระบบสารสนเทศ โดยการประเมินผลและการสรุปผลการใช้ระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการบริหารองค์การตามมาตรฐานบริการสุขภาพของโรงพยาบาล สามารถนำมาสนับสนุนการวัดผล การวิเคราะห์ การจัดการความรู้ และสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนการจัดการกระบวนการดำเนินงานของโรงพยาบาล เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารงาน เพื่อการรับรองมาตรฐานบริการสุขภาพของโรงพยาบาลในอนาคต            The purposes of this study are: 1) to study information management of accredited hospitals 2) to study the standard level of administration which is based on Hospital Accreditation in hospitals 3) to study the relationship between information management and the level of standard administration of accredited hospitals 4) to search for solutions to stimulate the role of information management in supporting the development of Hospital Accreditation.            The population in this study are private and public hospitals in Bangkok; out of which 1,175 samples comprising of hospital executives, officials and patients based on health standard to be selected. Tool of this study. The results of the study are based on quantitative and qualitative data analyzed by Canonical Correlation and Path Analysis.            It was found from the study that Bangkok accredited hospitals account for a “high” level, both in aggregate and individual dimensions, especially in patient caring, accessibility, timely service and good coordination, followed by important hospital work systems and organization management in that order.            It was also revealed from Canonical Correlation that accredited hospitals scored high on information management vis à vis the level of standard administration especially the improvement and development of information systems, information management evaluation, and the conclusion of hospital information system utilization.            Form the primary/ elementary study, a hospital information system model has been set up so that the hospital information system should emphasize on its improvement and development in accordance with hospitals context. The gained knowledge of which is very beneficial for administrative efficiency as well as hospital accreditation in the years to come.

Downloads