ชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชาด้านจันทบุรีกับการพัฒนาในกระแสการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Keywords:
การพัฒนาชุมชน, ไทย, จันทบุรี, การค้าระหว่างประเทศ, การค้ากับต่างประเทศ, กัมพูชา, การค้าชายแดนAbstract
บทความวิจัยนี้ต้องการนำเสนอความเคลื่อนไหวของการพัฒนาพื้นที่ชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านจังหวัดจันทบุรี โดยใช้การศึกษาจากเอกสารร่วมกับการสำรวจภาคสนาม และการสัมภาษณ์ ในช่วงเดือนตุลาคม 2554- สิงหาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอรายงานในลักษณะพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่มีความกระตือรือร้นต่อกิจกรรมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลมาจากการความเตรียมรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 โดยภาคเอกชนในพื้นที่มีบทบาทนำ และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งในท้องถิ่น ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ตลอดถึงพัฒนาการในทิศทางที่ดีต่อการขยายความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่ชายแดนในฝั่งกัมพูชาซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนกัมพูชา ข้อเสนอจากการศึกษาคือ การธำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนชายแดนไทยกับกัมพูชา การเพิ่มแผนงานพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมควบคู่กันไปกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ให้มากขึ้น The purpose of this research article was to demonstrate the movement of development in Thai-Cambodian border community situated in Chanthaburi province. Data was collected from documents, field research and in-depth interviews. The research took place from October 2011 to August 2013. The data was analyzed by the method of content analysis and descriptive analysis. The study showed that there were sectors which were enthusiastic about economic developing activities, as a result of the preparation for the ASEAN Economic Community which was scheduled to begin in 2015, with leading role by the local private sectors and with support from central, provincial and local governments, as well as positive progression towards the expansion of cooperation in developing border area in Cambodia, which Cambodian government had highlighted in order to enhance Cambodians’ quality of life. However, this research proposed the sustainability of good relationship between Thai-Cambodian borderline communities, the increase in socio-cultural development plans concurrent with economic development and the promotion of increasing public’s participation in area development.Downloads
Issue
Section
Articles