องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การจัดเก็บภาษีกรมสรรพากร ในประเทศไทย

Authors

  • เอมอร พลวัฒนกุล

Keywords:

ภาษี, การจัดเก็บภาษี, ประสิทธิผลองค์การ, กรมสรรพากร

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบประสิทธิผลขององค์การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสังเกตสถานที่ทำงานจริง การอ่านบันทึกการประชุมและข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภายใน และภายนอกกรมสรรพากร ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์การสรรพากรทั้งระดับบริหารและปฏิบัติงานในประเทศไทย จำนวน 9 คน ดำเนินการสนทนากลุ่ม จำนวน 2 ครั้งในวันที่ 18 ตุลาคม 2556 และ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเครื่องบันทึกเสียงและเครื่องถ่ายภาพ ผู้วิจัยได้มีการขออนุญาตเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลก่อนทุกครั้งและจัดเก็บข้อมูลเป็นความลับ จะเผยแพร่เฉพาะในเชิงวิชาการเท่านั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา(Content Analysis) จัดกลุ่มเนื้อหาข้อมูลที่สอดคล้องและตรงประเด็นตามวัตถุประสงค์การวิจัย            ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบประสิทธิผลขององค์การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร ประกอบด้วย 8 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างองค์การ (Organization Structure) ที่ผสมผสานหลากหลายรูปแบบโดยเน้นที่ผลสำเร็จของงาน 2) ด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์การ (Internal Environment) เป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงาน 3) ด้านแรงจูงใจ (Motivation) ในการทำงานของบุคคลากรที่ครอบคลุมปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก 4) ด้านความพึงพอใจ (Satisfaction)ของพนักงานต่อการทำงานในองค์การ 5) ด้านความยืดหยุ่นขององค์การ (Organization Flexibility) ที่มีความสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและต้านทานการแทรกแซงทางการเมือง 6) ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation)ที่ทันสมัยและมีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเฉพาะทางเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ 7) ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Plan Planning) ที่มีวิสัยทัศน์ ก้าวทันการพัฒนาของนานาประเทศ และ8) ด้านผลิตภาพ (Productivity) ขององค์การที่มีคุณภาพสูงและใช้ต้นทุนต่ำ                The purpose of this research is to determine the organizational effectiveness factor of the revenue department in Thailand. This study is a qualitative research which employed focus group interviews covering a data collection method, actual workplace observation, reading meeting minutes and other related information. The crucial contributors are referred to nine special qualified persons who are involved in and related to a revenue department at both management and operation level. The focus groups were organized twice on 18 October 2013 and 18 November 2013. Equipment used for recording data is audio recorder and camcorder. Publishing only on an academic purposes, the researcher has permission to collect information from the focus group and keep all information confidentially. This research used a content analysis and then grouping related data aligned with the research purposes.            The findings are that: the organizational effectiveness factor of the revenue department consisted of 8 components: 1) Organization Structure: a mixed structure emphasizing on a success at work 2) Internal Environment: an environment that fosters a participation in workplace 3) Motivation: both internal and external factor 4) Satisfaction: an employee’s satisfaction in workplace 5) Organization Flexibility: an ability to adapt for change and resist a political interference. 6) Technology and Innovation: a modern technology as well as an R&D unit in order to create and develop new things 7) Strategic Plan Planning: a vision and the development of strategic plan within the Thai Revenue Department comparing with other countries 8) Productivity: A production of high quality at the lowest cost.

Downloads